วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

เรื่องป่วยๆของเด็กหน้าหนาว

ช่วงนี้อากาศหนาวเด็กๆเป็น rhinite หรือ โรคโพรงจมูกอักเสบ หรือไม่ bronchite โรคหลอดลมอักเสบ หรือ otite โรคหูอักเสบ กันเยอะ มีคำแนะนำและความรู้มาฝาก เพราะเด็กๆเป็นทุกปี เป็นนาน เป็นแล้วเป็นอีก เด็กๆที่บ้านเป็นพวก hyper sensitive หรือพวกประสาทรับความรู้สึกไว จึงชอบที่จะเอาโรคพวกนี้มาบ่อยครั้ง ขอออกตัวไว้ก่อนว่าตนเองไม่ใช่แพทย์แต่อาศัยที่ว่าเจอแพทย์บ่อยมาก จึงรวบรวมคำแนะนำของหมอมาฝากค่ะ โปรดใช้วิจารณญานนะคะ

ขอเขียนเฉพาะเด็กที่อายุ 4 ขวบขึ้นไป โดยมากน่าจะสั่งน้ำมูกเป็นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเคาะปอด สาเหตุคือมีเสมหะอุดตันทำให้เกิดอาการไอ หมอชอบใช้วิธีการรักษาง่ายๆก่อนคือการล้างจมูกให้ถูกต้อง หมอมักจะนิยมให้ยา pivalone มาพ่นเพื่อขยายโพรงจมูก ร่วมกับการล้างจมูก บางทีก็จะเป็น Nasonex ซึ่งจะแรงกว่า Pivalone เด็กๆใช้ Pivalone จะดีกว่า พยายามอย่าใช้เกินวันที่หมอเขียนกำกับมา ต่อมาเรามาดูวิธีล้างจมูกให้ได้ผลกัน หมอโสต ( ORL) และนักกายภาพ (kiné)เฉพาะทางจมูก ทั้งสองคนเขาเป็นทีมที่อยู่ในโรงพยาบาลสำหรับการทำวิจัยทางด้านโสต ภูมิแพ้โดยเฉพาะ เขาแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ล้างจมูกแบบใหม่ (เพิ่งมีได้ประมาณ 1-2 ปี) เรียกว่า Respimer Kit d'irrigation nasale  ข้อได้เปรียบของอุปกรณ์ตัวนี้คือสามารถล้างจมูกเข้าไปถึงโพรงลึกได้ดีกว่าพวกสเปรย์ล้างจมูกด้วยน้ำทะเลแบบธรรมดา ซึ่งตัวน้ำแร่เมื่อหมดแล้วเราสามารถผสมเองที่บ้านก็ได้โดยใช้น้ำ 1.5 ลิตร ต้มกับเกลือทะเลเม็ดใหญ่ 3 ช้อนชา (ปาดให้แบนๆ) และ bicarbonate (ที่ใช้ทำขนม) ครึ่งช้อนชา ต้มให้สุกทิ้งไว้จนเย็นเก็บไว้ในตู้เย็น เวลาจะใช้ให้อุ่นด้วยไมโครเวฟ ความร้อน 650 W 10-20 วินาที สูตรนี้ก็เป็นสูตรทั่วไปในสเปรย์ฉีดล้างจมูกแค่ไม่ได้ใส่ bicarbonate bicarbonate มีฤทธิ์เป็นยาชาอ่อนๆ ล้างจมูกให้ทำวันละ 2 ครั้ง และต้องเช็ดให้แห้งทุกครั้งไม่อย่างนั้นเส้นเลือดฝอยในโพรงจมูกอาจจะแตกได้
หลังจากนั้นถ้าที่บ้านมี thym ให้ต้มจนเดือด แล้วเอาผ้าขนหนูคลุมหัวสูดไอระเหย thym มีฤทธิ์เป็นยาชาอ่อน ทำ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน จมูกจะโล่ง

                                              Respimer Kit d'irrigation nasale

ถ้าเด็กไข้ขึ้นๆลงๆหมอไม่ชอบที่จะให้ยาปฎิชีวนะ คำว่าไข้หมอที่นี่จะวัดไม่เหมือนที่ไทย ที่นี่เราจะเรียกว่ามีไข้เมื่อมีอุณหภูมิ 38.5 °C ขึ้นไป ถ้าภายใน 48 ชั่วโมงไข้ไม่ลด หลังจากให้ พาราเซตามอล หรือ Doliprane แล้ว ไข้เริ่มพุ่งไป 39 °C คือควรพบหมอ แต่ถ้าเกิน 40 °C ไม่ลดลงเลยหลังจากให้พารา ควรพบหมอโดยด่วนเพราะมีอาการติดเชื้อ อาจจะชักได้ ถ้ารอแผนกฉุกเฉินไม่ไหว ให้โทรหา samu ถ้าไม่ดึกมากให้โทรหา Médecin de garde ใกล้บ้าน คิวน้อยกว่าแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลเยอะ
ไม่ควรให้ยาไอบูโพรเฟน หรือ Advil กับเด็กเพราะจะทำให้เด็กติดเชื้อได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเด็กเล็ก หมอหลายท่านหรือเภสัชมักจะแนะนำให้ใช้ doliprane สลับกับ advil เพื่อลดไข้ แต่หมอโสต (ORL) ของดิฉันที่พบมาทุกคนบอกว่าห้ามเด็ดขาด ให้ใช้พาราอย่างเดียว

ถ้าเด็กมีอาการไอขนาดหนักปกติ ไม่มีไข้ เริ่มมีอาการหอบ หมอจะให้ยาพ่นเข้าปาก พวก ventoline ถ้าเริ่มส่อว่าจะติดเชื้อ ไอจนคอแดง มักจะให้ CÉLESTÈNE หรือ Bétaméthasone เป็นแบบหยด ถือเป็นยาสเตียรอยด์ บางทีก็ให้เป็น Solupred หรือ Prednisolone แต่ยากลุ่มพวกนี้ ผลข้างเคียงเยอะ มักจะให้แค่ 2 วัน ผลข้างเคียงคือเด็กจะกระวนกระวาย นอนไม่หลับ โมโหและหงุดหงิดง่าย มักจะให้ยานี้ตอนเช้าเพียงครั้งเดียว

 **ห้ามใช้ solupred คู่กับ CÉLESTÈNE****

บางทีก็จะเป็นยาที่ใช้พ่นโดยที่ต้องใช้เครื่องพ่นยา aérosol ยาที่ใช้คือ Budésonide หรือ Pulmicort เพื่อยาจะได้เข้าถึงปอด ระบบทางเดินหายใจ เป็นยากลุ่มสเตียรอยด์อีกตัว มักนิยมใช้หลังจากให้ CÉLESTÈNE ยาตัวนี้ลดบวม ลดการไอ มักจะเห็นผลหลังจากวันที่ 4-5 ให้ประมาณ 10-15 วัน

                                                                    เครื่องพ่นยา Aérosol



ถ้าเด็กมีอาการปวดมาก โดยเฉพาะพวกที่เป็นหูอักเสบ หรือ Otite ขอให้คุณแม่จำให้มั่นว่าอย่าใช้ advil เพราะ advil ทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ถ้าเด็กปวดมาก หมอมักจะให้ยาระงับปวดระดับ 2 พวก Tramadol เป็นแบบหยด ยาตัวนี้เป็นยาแรง ไม่สมควรให้เอง ต้องปรึกษาหมอหรือเภสัช ปกติถ้าปวดมากจะให้เพียง 2 วัน ห้ามกินร่วมกับยาบางชนิด เพราะอาจจะเสริมฤทธิ์ยาให้แรงขึ้น

**ห้ามใช้ advil คู่กับ Tramadol***

ยาแก้ไอ แบบน้ำเชื่อมเขามักจะไม่ให้ใช้ในเด็ก เขาให้เหตุผลว่ามันไม่ได้ผล และยาแก้ไอแบบน้ำเชื่อม CPAM ทยอยเอาออกในรายชื่อยาที่สามารถเคลมเงินอีกด้วย ดังนั้นแม่ๆไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมหมอถึงไม่จ่าย ยาแก้ไอบางตัวทำให้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพวกมีอาการหลอดลมอักเสบ หรือ Bronchite
ถ้าเด็กเป็นโรคพวกนี้บ่อยครั้ง แพทย์มักจะแนะนำให้พบหมอโสตหรือ ORL เพื่อจะทำการเอาต่อม végétation adénoïde หรือต่อมอะดีนอยด์ออก ต่อมอะดีนอยด์สามารถงอกใหม่ได้ หากเด็กมีอาการกรนหรือหายใจลำบากเมื่อเป็นหวัด หรือการฝัง diabolos หรือ aérateur transtympanique ภาษาอังกฤษเรียกท่อนี้ว่า Tympanostomy tubes เป็นท่อพลาสติกตรงเยื่อแก้วหู เพื่อระบายอากาศหรือน้ำในช่องหู ชั้นกลางมายังหูชั้นนอก เมื่อเด็กเป็นโรคหูอักเสบบ่อยๆหรือมีปัญหาความดันในหู แพทย์มักใช้วิธีนี้ในการรักษา ท่อนี้จะหลุดใน 6-12 เดือน

https://www.youtube.com/watch?v=THlGmQBhMKc

สามารถอ่านข้อมูลภาษาไทยได้ที่นี่
http://siamhealth.net/public_ht…/…/eye_ent/Tympanostomy.html

 
ถ้าไข้ขึ้นสูงมาก บางทีมันเกิดจากเชื้อไวรัส หมอรักษาแบบประคับประคองเพราะไม่มียาปฎิชีวนะ แต่ถ้าติดเชื้อจากแบคทีเรีย ก็จะให้ amoxicilline ซึ่งถ้าเป็นพวก bronchite หรือหลอดลมอักเสบในฤดูหนาว เจ็บคอเฉยๆ หมอมักจะไม่ให้ amoxicilline เพราะค้นพบว่ามันไม่ได้ผล พวกนี้ต้องรอหายเอง 1-2 สัปดาห์ หรือแม่ๆต้องทำใจ

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ titre de séjour

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ titre de séjour 

1. ถ้าคุณออกจากประเทศฝรั่งเศสเป็นระยะเวลากว่าสามปีติดต่อกัน titre de séjour ก็จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ

2. ในกรณีที่ titre de séjour หายในขณะที่อยู่ในต่างประเทศและต้องการกลับเข้ามาฝรั่งเศสใหม่ ต้องขอ visa de retour จากสถานฑูตฝรั่งเศส

3. ในกรณีที่ถือ récépissé de demande de titre de séjour สำหรับการขอบัตรใบแรกหากต้องการออกนอกเขตเช้งเก้นสามารถกระทำได้ แต่จะต้องขอ visa de retour เข้ามาใหม่ จาก la préfecture ที่คุณถือบัตรอยู่

4. มี titre de séjour จากประเทศอื่นในเชงเก้น ต้องการตั้งรกรากในฝรั่งเศส จะต้องถือวีซ่าระยะยาวมาก่อน สามารถอาศัยอยู่ได้ 3 เดือนแล้วจะต้องเปลี่ยนเป็น titre de séjour ของฝรั่งเศส ยกเว้น titre de séjour ของสเปน (permiso de residencia) หากถือบัตรอายุ 2 ปี ไม่ถือว่าเป็นการถือวีซ่าระยะยาว ให้นับจากบัตร 5 ปี กรณีแต่งงานกับพลเมืองยุโรปจะได้ titre de séjour มีอายุอย่างมากที่สุด 5 ปี อาจจะให้แค่ 1 ปีในปีแรกก็ได้แล้วแต่เขต