วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การยื่นสูติบัตรไทยเพื่อทำการ์ดวิตาลหรือยื่นขอสัญชาติฝรั่งเศส l'acte de naissance thaïlandais pour l'administration en France (Carte Vitale ou la naturalisation)

Mise à jour 03/03/2016

 ก่อนจะทำเอกสารเกี่ยวกับสูติบัตรนั้น ขอแนะนำให้ถามจนท.ของหน่วยงานที่จะยื่นสูติบัตรให้ชัดเจนว่า 

1.รับเอกสารที่แปลมาจากเมืองไทยหรือไม่ 
2.สูติบัตรแปลมีอายุเท่าไหร่ 
3.การนับอายุสูติบัตรแปลนับจากวันที่แปลหรือวันที่รับรองการแปล จากประสบการณ์ หน่วยงานในประเทศฝรั่งเศส แต่ละเขตนับอายุไม่เหมือนกัน อาจจะเป็น 3 เดือน 6 เดือน หรือไม่หมดอายุ 

หลังจากนั้น หากมีสูติบัตรแปลอยู่ในมือ และแปลมาแล้วจากประเทศไทย

1.ให้ดูว่ามีตราประทับรับรองเอกสารจากกรมการกงสุล กระทรวงตปท. หรือ สถานที่ในการให้บริการงานสัญชาติและนิติกรณ์ตามจังหวัดต่างๆ หรือไม่ 
2.ให้ดูว่ามีตราประทับรับรองเอกสารจากสถานฑูตฝรั่งเศสหรือสถานกงสุลประจำประเทศไทยหรือไม่ 
3.ให้ดูวันที่แปลหรือวันที่รับรองเอกสารว่ามีอายุตรงตามความต้องการที่หน่วย งานนั้นร้องขอมาหรือไม่ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งให้สันนิษฐานว่ามันอาจจะใช้ไม่ได้

กรณีที่ 1 กรณีที่มีสูติบัตรต้นฉบับ  l'acte de naissance
เลือกแปลในประเทศฝรั่งเศส



Image : 4shared.com

 ให้ส่งไปแปลกับนักแปล traducteur assermenté ได้เลย โดยที่ไม่ต้องส่งไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุลหรือ สถานที่ในการให้บริการงานสัญชาติและนิติกรณ์ ประเทศไทย รายชื่อนักแปล  traducteur assermenté  http://janemarisa.blogspot.fr/2015/06/blog-post_9.html แล้วจึงส่งไปที่ สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส เพื่อทำการรับรองเอกสาร แล้วยื่นเอกสารตามปกติ

 กรณีที่ 2 มี / ไม่มีสูติบัตรต้นฉบับ เลือกแปลในประเทศไทย

1 ให้ไปคัดสำเนาสูติบัตรที่อำเภอ/เขตมา (จนท.อาจจะออกเป็นหนังสือรับรองการเกิด  หรือ อาจจะถ่ายเอกสารมาจากต้นขั้วสูติบัตรที่เก็บไว้)

2. นำไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ หลักสี่ หรือ สถานที่ในการให้บริการงานสัญชาติและนิติกรณ์ตามจังหวัดต่างๆ รายละเอียด http://www.consular.go.th/main/th/services/1303
 
3. นำสูติบัตรที่คัดมาไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ถ้าแปลที่เมืองไทย ให้แน่ใจว่าหน่วยงานรับเอกสารที่แปลจากเมืองไทย ให้นำไปแปลกับนักแปลที่มีรายชื่ออยู่ในสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย traductrice agréée / traducteur agréé รายชื่อนักแปล http://www.ambafrance-th.org/Liste-de-traducteurs หรือ http://janemarisa.blogspot.fr/…/liste-des-traducteurs-agree…

 4 นำสูติบัตรฉบับแปลไปรับรองเอกสารที่สถานฑูตฝรั่งเศสหรือสถานกงสุลประจำประเทศไทย (มี 2 ตราประทับ )แล้วไปยื่นได้เลย รายละเอียด http://www.ambafrance-th.org/Notariat-et-legislation ก่อนที่เอกสารจะหมดอายุ ไม่จำเป็นต้องรับรองเอกสารที่สถานฑูตไทยประจำฝรั่งเศสอีก

 กรณีที่ 3 ไม่มีสูติบัตรต้นฉบับ เลือกแปลในประเทศฝรั่งเศส

1 ให้ไปคัดสำเนาสูติบัตรที่อำเภอ/เขตมา ( จนท.อาจจะออกเป็นหนังสือรับรองการเกิด หรือ อาจจะถ่ายเอกสารมาจากต้นขั้วสูติบัตรที่เก็บไว้)

2. นำไปรับรองเอกสารที่กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ หลักสี่  หรือ สถานที่ในการให้บริการงานสัญชาติและนิติกรณ์ตามจังหวัดต่างๆ รายละเอียด http://www.consular.go.th/main/th/services/1303
 
3. นำสูติบัตรที่คัดสำเนามาแปลกับ traducteur assermenté ที่มีชื่ออยู่ใน cours d'appel ที่ฝรั่งเศส รายละเอียด http://janemarisa.blogspot.fr/2015/06/blog-post_9.html

4. ทำการรับรองเอกสารที่สถานฑูตไทยประจำฝรั่งเศส รายละเอียด http://www.thaiembassy.fr/บริก…/งานนิติกรณ์/การรับรองเอกสาร/ แล้วนำไปยื่นได้เลย

ตัวอย่างตราประทับต่างๆที่เกี่ยวข้อง


1. ตัวอย่าง ตราประทับนักแปล traducteur assermenté / traductrice assermentée  ในประเทศฝรั่งเศส 

ผู้ที่เป็นนักแปล traducteur assermenté /traductrice assermentée ตราประทับจะต้องมีคำว่า Expert Assermenté(e) près la Cour d'appel de XXX ถ้าไม่มีก็แสดงว่าไม่ใช่นักแปลที่ได้รับการอนุญาติจากศาล






2. ตัวอย่าง ตราประทับ B รับรองเอกสารจาก กรมการกงสุล กระทรวงตปท.




3. ตัวอย่างตราประทับที่ 1 รับรองเอกสารจากสถานฑูตฝรั่งเศส ในตัวอย่างเป็นตราประทับสถานฑูตฝรั่งเศส ประเทศออสเตรเลีย



4. ตัวอย่างตราประทับที่ 1  รับรองเอกสารจากสถานฑูตฝรั่งเศส  (ภาพจาก Kanyarat Potisut Hunziker)


 5. ตัวอย่างตราประทับที่ 1 รับรองเอกสารจากสถานกงสุลฝรั่งเศส ประจำจังหวัดเชียงใหม่ (ภาพจาก Mesaya Oddon Kruaboonma)


6. ตัวอย่างตราประทับที่ 1  รับรองเอกสารจากสถานฑูตฝรั่งเศส (ภาพจาก Ploy Sripetch Chevalier)

หรือ


7.  ตัวอย่างตราประทับที่ 2  รับรองเอกสารจากสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย (ภาพจาก Salaplow Hiso )








8.  ตัวอย่างตราประทับที่ 2 รับรองเอกสารจากถานกงสุลฝรั่งเศสประจำจังหวัดเชียงใหม่ (ภาพจาก Mesaya Oddon Kruaboonma) 


9. ตัวอย่างตรารับรองเอกสารที่ 1 จากสถานฑูตไทยประจำกรุงปารีส 

 
10. ตัวอย่างตรารับรองเอกสารที่ 2 จากสถานฑูตไทยประจำกรุงปารีส 


11.  ตัวอย่าง ตราประทับของนักแปล traductrice agréée / traducteur agréé ที่ได้รับการรับรองจากสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จากรูปแปลจาก The Corner ภาพจาก Chekchanok JuBu Nilaphai

 12. ตัวอย่าง ตราประทับของนักแปล traductrice agréée / traducteur agréé ที่ได้รับการรับรองจากสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จากรูปแปลจาก Alliance Français จ.เชียงใหม่ ภาพจาก Mesaya Oddon Kruaboonma



13. ตัวอย่าง ตราประทับของนักแปล traductrice agréée / traducteur agréé ที่ได้รับการรับรองจากสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย จากรูปแปลจาก Alliance Français กรุงเทพ ภาพจาก Phikun Sauvage



ตัวอย่างเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิด 


1 . ตัวอย่าง l'extrait de naissance thaïlandais ออกโดยสถานฑูตไทย ซึ่งเลิกออกไปตั้งแต่ปี 2013





Image : Facebook Baan Sapai  Farangset par Mme Tawarat Fournier


2. ตัวอย่าง หนังสือรับรองการเกิด l'attestation de naissance ที่ออกโดยจนท.ที่ไทย  เมื่อก่อนสถานฑูตไทยสามารถออก l'attestation de naissance ได้ แต่ปัจจุบันไม่ทำแล้ว

 photo 8875234b.jpg


Image :  http://www.ichat.in.th/siamknowhow/topic-readid79337-page1

3. ตัวอย่างสูติบัตรต้นฉบับ  l'acte de naissance 

 

หมายเหตุ

1. สมัยก่อนมีการออก l'extrait d'acte de naissance และ l'attestation de l'acte de naissance โดยสถานฑูตไทย ประเทศฝรั่งเศส แต่ปัจจุบันไม่มีแล้วค่ะ เลิกทำไปตั้งแต่ปลายปี 2013

2. การขอคัดสำเนาสูติบัตร สถานฑูตไทยสามารถออกหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ญาติไปขอคัดสำเนาสูติบัตรที่ อำเภอ/เขต ในกรณีที่สูติบัตรต้นฉบับหายหรือชำรุดมาก

3. ในปีที่แล้ว 2015 มีกฎกระทรวงประกาศออกมาว่า เรื่องการรับรองเอกสารจากสถานฑูตไทยประจำฝรั่งเศสว่า ในกรณีที่เอกสารนั้นไม่ใช่ต้นฉบับ รวมถึงกรณีการคัดสำเนาสูติบัตรและหนังสือรับรองการเกิดนั้น จะต้องนำเอกสารไปรับรองที่กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศก่อน ก่อนที่จะนำมารับรองกับสถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส แต่ถ้าเป็นสูติบัตรต้นฉบับ (ตัวจริง ใบเก่าๆ) ไม่จำเป็นต้องนำไปรับรองที่กรมการกงสุล

4. การรับรองเอกสารกับกรมการกงสุล หรือ สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส สามารถทำผ่านทางไปรษณีย์โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสถานฑูตด้วยตนเอง

5. เอกสารที่จนท.จะเอานั้นกรุณาถามจนท.ค่ะ แต่ละเขตนับอายุเอกสารไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องไปเปรียบเทียบว่าทำไมเขตนั้นนับแบบนี้ เขตนี้นับแบบนั้น ขั้นตอนที่อธิบายมาทั้งหมดเป็นขั้นตอนมาตรฐานสำหรับการยื่นสูติบัตรเพื่อทำ การ์ดวิตาล และ การขอสัญชาติ (ความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งคือ กรณียื่นขอสัญชาติผ่านทาง la mairie อาจจะไม่ต้องทำเยอะขนาดนี้ ต้องถามจนท.ให้ละเอียดยิบ)

6. ส่วนใหญ่เอกสารที่พลาดกัน ร้อยละ 95 % ขาดตราประทับค่ะ ขาดอะไรบ้างดูตามกรณีต่างๆ

7. นักแปล traducteur assermenté มีรายชื่อเปลี่ยนแปลงทุกปี บางคนไม่ได้ต่อ ก็อาจจะเป็นไปได้ว่าไม่ได้เป็น traducteur assermenté แล้ว โปรดระวัง รายชื่ออัพเดทที่สุดให้ดูที่นี่ http://www.annuaire-traducteur-assermente.fr/…/annuaire-tra…

8.รายชื่อ สถานที่ในการให้บริการงานสัญชาติและนิติกรณ์ จังหวัดต่างๆ http://www.consular.go.th/main/th/services/1518

9.การรับรองเอกสารทางไปรษณีย์ ของกรมการกงสุล http://www.consular.go.th/main/th/services/1303/19824-การรับรองเอกสารทางไปรษณีย์.html 

10. รายชื่อสถานกงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทย http://www.ambafrance-th.org/Consulat







วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

รายชื่อนักแปล traducteur assermenté / traductrice assermentée ในประเทศฝรั่งเศส ประจำปี 2017

นักแปล นั้น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นักแปลธรรมดา และนักแปลเอกสารทางกฎหมาย (ทางราชการ) ซึ่งเรียกว่า  traducteur assermenté  / traductrice assermentée ซึ่งจะต้องได้รับการอนุญาติจากศาล ซึ่งเรียกว่า cours d'appel มีตราประทับคำว่า traducteur assermenté  / traductrice assermentée เอกสารที่นักแปล traducteur assermenté แปลนั้น ทางราชการฝรั่งเศสยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการทำเอกสารเพื่อแต่งงาน จด PACS ทำ carte vitale ขอสัญชาติ ขอ carte de séjour เป็นต้น ซึ่งการแปลเอกสาร เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน วุฒิบัตร พาสปอร์ต ใบประเพณี ใบขับขี่ จะต้องแปลกับ traducteur assermenté  เท่านั้น ทางราชการไม่ยอมรับเอกสารจากนักแปลธรรมดา การแปลเอกสารนั้นสามารถแปลกับนักแปลท่านใดก็ได้ในฝรั่งเศส ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้นักแปลในเมืองที่ท่านอาศัยอยู่ ซึ่งราคานั้นมีหลากหลายตั้งแต่ 25 € - 90 € ราคาที่เขียนเป็นราคาที่สอบถามเฉพาะการแปลพวก สูติบัตร ทะเบียนบ้าน ใบขับขี่ ราคานี้เป็นราคาต่อหน้า รายชื่อนักแปล traducteur assermenté  / traductrice assermentée ในประเทศฝรั่งเศส
ประจำปี 2015

แคว้น Alsace

1. คุณ ประไพ เอ็นริช  Mme Praphaï HEINRICH  née SUANSURAN
    ล่าม / นักแปล
    ที่อยู่  2A rue Principale, 68380 MUHLBACH sur MUNSTER
    หมายเลขโทรศัพท์ 03.89.77.66.52  มือถือ 06 84 27 07 42
    อีเมล traduction@traducteur-thai.fr
    website : http://www.traducteur-thai.fr
    Cour d’Appel de Colmar
    ราคา ราวๆ 30-35  €/หน้า



 แคว้น Aquitaine

2. Mr.  Kanyarat KOLAKA 
    ล่าม / นักแปล
    ที่อยู่ 10 rue de navarre Résidence d'albret appt 18  33000 BORDEAUX
    หมายเลขโทรศัพท์ 05.56.91.10.39  มือถือ  06.43.78.57.43
    Cour d'Appel de Bordeaux

 แคว้น Auvergne

3.  Madame Panita DECROIX née BUSSAPAPACH  
     ล่าม / นักแปล
ที่อยู่ 2 rue Champfort 63000 CLERMONT-FERRAND
หมายเลขโทรศัพท์ 04.73.37.22.36 มือถือ 06.29.85.09.63
อีเมล contact@thai-traduction.com
website www.thai-traduction.com  
Cour d’Appel de Riom

 แคว้น Centre

4. Madame Sestawan HUYNH  
    ล่าม / นักแปล
    ที่อยู่ 3 place Gabriel Péri , 18100 VIERZON
    หมายเลขโทรศัพท์  02.48.71.92.46 มือถือ  06.60.59.60.05
    Cour d'Appel de Bourges

แคว้น Île-de-France


5. Madame Marithone CLOTTE née SYGNAVONG 
    ล่าม / นักแปล
    ที่อยู่  34 rue Lamartine 91100 CORBEIL - ESSONES
    หมายเลขโทรศัพท์ 01.64.97.71.81 มือถือ 06.62.90.70.28
    Cour d'Appel de Paris

6. Madame Darawan DAUGE  née JAYANETRA 
     ล่าม / นักแปล
     ที่อยู่ 12 bis rue Gobert, 75011 PARIS
     หมายเลขโทรศัพท์  01.43.79.39.66  มือถือ 06.62.89.35.16
     อีเมล   jaya.dauge@orange.fr
     Cour d’Appel de Paris
     ราคา 70  €/หน้า

7. Madame Poungphen LANG   
      ล่าม / นักแปล
      ที่อยู่ 10 rue de la Bellefeuile 92100  BOULOGNE BILLANCOURT
      หมายเลขโทรศัพท์  01.48.25.29.26
      Cour d’Appel de Versailles

8. Mr. Koson THANADSAMRAN  
      ล่าม / นักแปล
      ที่อยู่ 69 rue des Chardons 93110  ROSNY SOUS BOIS
      หมายเลขโทรศัพท์ 01.48.55.51.28 มือถือ  06.60.71.25.01
      Cour d'Appel de Paris

9. Mr. Bruno DUBOIS 

      ล่าม / นักแปล
      ที่อยู่ 8, Av. du Pt J.F Kennedy - Escalier 6 78230 LE PECQ SUR SEINE
      หมายเลขโทรศัพท์ 01 39 16 35 20
      Cour d'Appel de Paris

10. Mr.  Nisarat KONGCHEEP 
      ล่าม / นักแปล
      ที่อยู่ 69 avenue Edouard Vaillant 92100 BOULOGNE BILLANCOURTT
      มือถือ  06.77.14.90.45
      Cour d'Appel de Versailles
แคว้น Languedoc - Roussillon

11.  Nathamon THONGSRINOON
       ล่าม / นักแปล
       ที่อยู่   168 rue de la Libération 34400 LUNEL
       มือถือ 06 89 92 38 91
       อีเมล  contact@nitt.fr 
       Site   http://www.nitt.fr 
       Facebook  https://www.facebook.com/nitt.thai/
       ราคา: 25-30 ยูโร/หน้า
       Cour d’Appel de Montpellier
      
แคว้น  Lorraine

12.  Mr.Henri INTHASOM  
       ล่าม / นักแปล
       ที่อยู่ 1 Rue du Château 55210 CREUE
       หมายเลขโทรศัพท์ 03.29.89.80.32   มือถือ  06.83.04.34.32
       อีเมล: henri.i@hotmail.fr
       Facebook  https://www.facebook.com/Henri.INTHASOM?fref=ts
       ราคา: 35 ยูโร/หน้า
       Cour d'Appel de Nancy

แคว้น Midi-Pyrénées  

13. Monsieur  Nutta CHINTANAVICH 
      ล่าม / นักแปล
      ที่อยู่ 2 rue Mariniers  31150 FENOUILLET
      หมายเลขโทรศัพท์ 05 62 75 24 67 มือถือ 06.21.86.36.79
      อีเมล chintana@hotmail.fr
      Cour d’Appel de Toulouse
      ราคา 50  €/หน้า

14.  Mme Tanida  Pellé  ธนิดา เปอเล่ ปาณิกวงษ์
       ที่อยู่ 34 avenue du Président Doumergue 31500 Toulouse

       มือถือ 06 66 08 75 76
      Facebook https://www.facebook.com/traducteurthaiTanida/
     อีเมล tanidap@yahoo.com
     Cour d’Appel de Toulouse
      ราคา  25-40 ยูโร/หน้า (แปลเอกสารกฎหมาย 0.15/คำ


 แคว้น Nord-Pas de Calais

14. Madame Eamporn RANWEZ née JINDA  
      ล่าม / นักแปล
      ที่อยู่ 27 rue Augustin Isaac, 62100 CALAIS
      หมายเลขโทรศัพท์  03.21.36.06.99 มือถือ 06.65.53.63.92
      อีเมล thai.traduction@hotmail.fr
      Cour d’Appel de Douai

แคว้น pays de la loire

15. Madame Lyne SINYODYIUM née METAYER 
      นักแปล
      ที่อยู่  16 rue du Docteur Leroy 72000 LE MANS
      มือถือ 06-32-95-61-74
      Cour d'Appel d'Angers

แคว้น Provence-Alpes-Côte d'Azur 

16. Madame  Dharntipaya PRONE née KAOTIPAYA  
     ล่าม / นักแปล
     ที่อยู่ 156 Avenue les Lavandières, Le Saint Victor, 83110 SANARY SUR MER
     หมายเลขโทรศัพท์ 04.94.32.82.24  มือถือ 06.80 .21.11.59
     อีเมล tchiap@yahoo.com
     Cour d'Appel d'Aix en Provence
     ราคา ราวๆ 30-35 €/หน้า
 แคว้น  Rhône-Alpes

17. Madame Wantana ROCHET née SUANPAT 
      ล่าม / นักแปล
      ที่อยู่ 2 Chemin de Charrière Blanche 69130 ECULLY
      หมายเลขโทรศัพท์ 04.78.33.40.53 มือถือ 06 63 85 33 42
      Cour d’Appel de Lyon

 18.  Mme Kanogwan JHIT-E-MON
      ล่าม
     ที่อยู่ 59 boulevard Lannes 75116 Paris
    มือถือ 06.72.57.16.02
    Cour d'Appel de Paris 


19.  Madame Kanita MERGNAT 
      ล่าม / นักแปล
     ที่อยู่ 12 rue Frédéric Lemaître,Bâtiment 2, 75020 PARIS
    มือถือ 06.64.79.50.05
    อีเมล  kanitta@free.fr
    Cour d’Appel de Paris


20.   Madame Parichat  MONPART née VEERACHAT
    ล่าม
    ที่อยู่ 62 avenue Paul Painlevé  24100 BERGERAC
    หมายเลขโทรศัพท์ 05.53.24.89.12 มือถือ 06.38.38.59.38
    Cour d'Appel de Bordeaux


21. Mme  Matanawadie  BAGOT néE YADJAROEN
     ล่าม
    ที่อยู่ 41 rue du Château d'eau - Beauvoir  86580  VOUNEUIL SOUS BIARD
    หมายเลขโทรศัพท์  05.49.39.67.05
    Cour d'Appel de Poitiers
แหล่งที่มา http://www.annuaire-traducteur-assermente.fr/fr/3/annuaire-traduction-assermentee.html



แหล่งที่มา http://www.annuaire-traducteur-assermente.fr/fr/3/annuaire-traduction-assermentee.html
 



    





การขอหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมหรือหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศไทย

การขอหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมหรือหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศไทย 

ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย

ผู้ร้องขอสามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ดังรายละเอียดตามนี้

    รายชื่อเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

    1. หนังสือเดินทาง ที่ยังไม่หมดอายุ ( อย่างน้อยควรจะก่อนหมดอายุ 6 เดือน )
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
    3. ทะเบียนบ้าน
    4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล ( กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล )
    5. ใบสำคัญการสมรส หย่า กรณีหญิงมีการสมรส/หย่า
    6. หลักฐานทางการทหารของชาย สัญชาติไทย อายุตั้งแต่17-45 ปี(สด.8, 9, 43 ใบ รด. หรือหนังสือ
        ผ่อนผันทหาร ฯลฯ )
    7. หนังสือส่งตัวขอตรวจสอบประวัติจากสถานทูต หรือเอกสารที่แสดงว่าได้ยื่นคาร้องขอวีซ่าจาก
        สถานทูตแล้ว เช่น Request for Record check ,checklist for case Number ,ใบสมัครที่เจ้าหน้าที่
        สถานทูตได้รับเรื่องไว้แล้ว หรือเอกสารใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า ฯลฯ) สำหรับกรณี  
        เพื่อขอวีซ่าไปต่างประเทศ
    8. หนังสือแสดงความยินยอมจากผู้ปกครอง กรณีเป็นผู้เยาว์ (อายุต่ากว่า 18 ปี )
    9. ต้องมีหนังสือตอบรับจากสถาบันศึกษาต่างประเทศ และคุณวุฒิการศึกษาปัจจุบัน หรือกรณีที่ศึกษา
        อยู่แล้วมีความประสงค์จะต่อวีซ่าให้แนบสาเนาหน้าวีซ่านักเรียนปัจจุบัน (Visa Student ) พร้อม
        หนังสือรับรองการขอตรวจสอบประวัติจากสถานศึกษา หรือ หนังสือตอบรับจากสถานศึกษาที่ผู้ร้อง
        ประสงค์จะเข้าศึกษา สำหรับกรณีศึกษาต่อ
   10.หนังสือรับรองพร้อมเอกสารประจำตัวคู่สมรส /วีซ่าคู่หมั้น หรือ เอกสารการขอสมรสจากสถานทูต
        ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ สำหรับกรณีสมรส
   11. หนังสือส่งตัวจากศูนย์รับบุตรบุญธรรม ฯ พร้อมสาเนาเอกสารประจาตัวของผู้ขอรับบุตรบุญธรรม   
        สำหรับกรณีรับบุตรบุญธรรม
   12. เอกสารประจำตัวคู่สมรสและสาเนาทะเบียนสมรส พร้อมเอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์ของคู่
         สมรส ( แปลเป็นไทย กรณีเป็นภาษาต่างประเทศ ) สำหรับกรณีติดตามคู่สมรส
   13. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือรับรองความประพฤติ กรณีบุคคลที่พำนักในประเทศไทย ดาวน์โหลด
         ได้จาก http://pcscenter.sb.police.go.th/filedownload/Application%20Form.pdf
   14. ค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบประวัติ จานวน 100 บาท
   15. การทำเอกสารผ่านสถานีตำรวจภูธรตามจังหวัดต่างๆ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้ทำได้
         ทุกแห่ง เพราะทางสถานีตำรวจภูธรเองต้องส่งไปกรุงเทพเหมือนกัน
  
สามารถดูเอกสารเพิ่มเติมได้จาก http://pcscenter.sb.police.go.th/filedownload/file-service-1th.pdf

ที่อยู่ 

ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
ชั้น 1 อาคาร 24 สนง.ตำรวจแห่งชาติ
ถ.พระราม 1 เขตปทุมวัน กทม. 10330
เบอร์โทรศัพท์ 02 205 2168-9
เวลาทำการ 8h30 - 16h30 ไม่หยุดพักเที่ยง


ผู้ที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส สามารถยื่นคำขอได้ 2 วิธี

1. พิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส  แล้วส่งเอกสารพร้อมหนังสือมอบอำนาจให้กับญาติไปยื่นที่ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ 

ผู้ร้องต้องมาดำเนินการติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบเอกสาร กรอกเอกสารที่เกี่ยวข้องและพิมพ์ลายนิ้วมือ พร้อมทำใบมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลในครอบครัวไปยื่นขอที่ ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชั้น 1 อาคาร 24 สนง.ตำรวจแห่งชาติ

เอกสารที่ต้องเตรียม
1. สำเนาหนังสือเดินทางที่มีอายุ 4 ชุด
2. สำเนาทะเบียนสมรส 4 ชุด
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 4 ชุด
4. สำเนาทะเบียนบ้าน 4 ชุด
5. รูปถ่าย หน้าตรง ขนาด 2 นิ้วครึ่ง ซึ่งได้ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน 4 ใบ
6. Carte de séjour หรือ Carte de résident 4 ชุด
7. ค่าธรรมเนียมในการรับรองสำเนาเอกสารประกอบ 15 ยูโรต่อหนึ่งฉบับ
8. ซองจดหมายเขียนชื่อ ที่อยู่ และติดแสตมป์ (กรณีให้ส่งกลับทางไปรษณีย์)
9. กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน (กรณีผู้ร้องพำนักอยู่ต่างประเทศเท่านั้น)
ให้ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่บุคคลที่จะมาดำเนินการให้ โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ จำนวน 10 บาท )

อากรแสตมป์ สามารถซื้อได้ที่
1. สำนักงานสรรพากร ท้องที่ต่างๆ
2. หรือหน่วยงานที่ใช้ต้องใช้ อากรแสตมป์อาจมีไว้บริการเพื่อความสะดวก
3. ร้านเครื่องเขียน


Image : http://neuralways.blogspot.fr/2012/10/blog-post_10.html

ที่อยู่ 
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส
8, rue Greuze 75116 Paris
เบอร์โทรศัพท์ 01 56 26 50 50
เวลาทำการ   จันทร์-ศุกร์  9h30 - 12h30 / 14h30 - 17h30
Métro ligne 6 ou 9 : Trocadéro
sortie 4 : Avenue Georges Mandel
Bus ligne 63

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่นี่  http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/งานนิติกรณ์/การรับรองอื่นๆ/

2.  ผ่านทางไปรษณีย์โดยตรงกับศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติที่กรุงเทพ

พิมพ์ลายนิ้วมือที่ สถานีตำรวจ แผนก service judicaire หรือ la mairie แผนกบัตรประจำตัวประชาชน/พาสปอร์ต หรือ la préfecture แผนกบัตรประจำตัวประชาชน/พาสปอร์ต ซึ่งทุกที่ไม่ใช่ว่าจะให้เราพิมพ์ลายนิ้วมืออย่างง่ายๆ ต้องใช้การเจรจาและใช้เอกสารจากใน website ไทย และ รายชื่อเอกสารจาก la préfecture แผนก naturalisation ว่าคุณจำเป็นต้องใช้รอยพิมพ์นิ้วมือเพื่อขอ casier judicaire การตรวจสอบแผ่นรอยพิมพ์นิ้วมือ ต้องมีตราประทับและลายเซ็นจนท. ไม่เช่นนั้นจะใช้ไม่ได้


แบบพิมพ์ลายนิ้วมือ
http://pcscenter.sb.police.go.th/ShowFileDownload.php?downloadkey=11

 รายชื่อเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
1. สำเนาหนังสือเดินทาง ที่ยังไม่หมดอายุ ( อย่างน้อยควรจะก่อนหมดอายุ 6 เดือน )
2. สำเนาบัตรประชาชน (กรณีบัตรประชาชนหมดอายุ ให้นาเอกสารบันทึกสอบปากคา ณ กงสุลไทย มาประกอบ )
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สาเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล ( กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล )
5. ใบสำคัญการสมรส / หย่า / ( กรณีหญิงมีการสมรส/หย่า )
6. สาเนาหลักฐานทางทหารของชาย สัญชาติไทย( สด.8 , 9 , 43 ใบ รด.หรือหนังสือผ่อนผันทหาร ฯลฯ )
7. รับรองความถูกต้องของสาเนาทุกฉบับ
8. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จานวน 2 รูป
9. แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือจานวน 2 แผ่น (สามารถติดต่อขอพิมพ์ลายนิ้วมือได้ที่สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศนั้นๆ หรือ สถานีตารวจในประเทศที่พานักอยู่ )
10.ให้ผู้ร้องกรุณาแนบซองจดหมายพร้อมที่อยู่ของผู้ร้องและจัดเตรียมค่าไปรษณีย์เพื่อจัดส่งกลับโดย
ใช้เป็น International postage voucher จานวน 7 ใบ ทั้งนี้ศูนย์บริการฯ จะไม่รับผิดชอบกรณีการสูญหายของเอกสารที่ไม่มีผู้มารับ หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ใหม่ ให้ท่านรีบดาเนินการแจ้งสถานที่อยู่แห่งใหม่ พร้อมจัดเตรียมซองจดหมายและค่าไปรษณีย์สาหรับจัดส่งกลับ มิฉะนั้นท่านจะต้องยื่นคาร้องเพื่อขอเอกสารใหม่

 International postage voucher หรือ International Reply Coupons ((IRC) ซึ่ง ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า coupon-réponse international หรือ CRI ซื้อได้ใน website ของ La poste (CRI เป็นบัตรที่สามารถใช้แลกเป็นแสตมป์ค่าจดหมายไปต่างประเทศ ผู้รับปลายทางก็สามารถนำCRIไปแลกเป็นแสตมป์ได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์) สั่งซื้อได้ที่ https://boutique.laposte.fr/envois-courant/enveloppes-pre-affranchies/coupon-reponse-international-doha/p/1113550?template=part&chatTpl=laposte-boutique-part&cartVisibleItemCount=1&isUserConnected=false&chatSid=823&isCollectionneur=false


                                                     ตัวอย่าง CRI

                     
 


11. จัดส่งค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบประวัติ จานวน 100 บาท

ชื่อธนาคาร/สาขา: ธนาคาร UOB สาขาสยามสแควร>
Bank Code: 024
Branch Code: 772
Swift Code: UOVBTHBK
ที่อยู : 410-410/1 สยามสแควร์ ซอย 6 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
ชื่อบัญชี: Police Clearance Center
เลขที่บัญชี: 772-163-299-0
ประเภทบัญชี: ออมทรัพย

สามารถชำระเงินผ่านทางธนาคาร UOB โดยกรอกรหัส swift code UOVBTHBK ตรง รหัส BIC ไม่ใช่ รหัส IBAN  รายละเอียดเพิ่มเติม http://pcscenter.sb.police.go.th/filedownload/infomation-telegraphic.pdf 

12. กรอกเอกสารในแบบคำร้อง http://www.pcscenter.sb.police.go.th/filedownload/form_app.pdf

จัดส่งเอกสารทั้งหมดมาที่

ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
ชั้น 1 อาคาร 24 สานักงานตารวจแห่งชาติ
ถนน พระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย

The Police Clearance Service Center. Building 24, Royal Thai Police, Rama I, Pathumwan, Bangkok 10330 Thailand

หมายเหตุ
1. หากท่านอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศสติดต่อกันมาเป็นเวลา 10 ปี ในการขอสัญชาติฝรั่งเศสไม่จำเป็นจะต้องขอใบรับรองประวัติอาชญากรรม (casier judiciaire) หรือ หนังสือรับรองความประพฤติจากประเทศไทย
2.สถานที่พิมพ์ลายนิ้วมือ นอกเหนือจากสถานฑูตหรือสถานกงสุลไทยในฝรั่งเศสแล้ว ยังสามารถทำได้ที่สถานีตำรวจ แผนก service judicaire หรือ la mairie แผนกบัตรประจำตัวประชาชนหรือพาสปอร์ต หรือ la préfecture แผนกบัตรประจำตัวประชาชนหรือพาสปอร์ต ซึ่งทุกที่ไม่ใช่ว่าจะให้เราพิมพ์ลายนิ้วมืออย่างง่ายๆ ต้องใช้การเจรจาและใช้เอกสารจากใน website ไทย และ รายชื่อเอกสารจาก la préfecture แผนก naturalisation ว่าคุณจำเป็นต้องใช้รอยพิมพ์นิ้วมือเพื่อขอ casier judicaire การตรวจสอบแผ่นรอยพิมพ์นิ้วมือ ต้องมีตราประทับและลายเซ็น ไม่เช่นนั้นจะใช้ไม่ได้
3. ข้อควรระวัง หนังสือรับรองความประพฤติ จะต้องตรวจชื่อ นามสกุลให้ถูกต้องตามตัวอักษรและทุกเอกสาร และที่สำคัญอย่าลืมเขียนจดหมายระบุไปว่า อย่าใช้หัวข้อที่ว่า " For The french embassy only" ให้จนท.เว้นว่างเอาไว้ หรือขอให้ระบุคำว่า "for the french republic authorities only"  ยกเว้นจะยื่นผ่านสถานฑูตฝรั่งเศสในตปท. สามารถใช้คำว่า " For The french embassy only"
4. หนังสือรับรองความประพฤติ ไม่ต้องทำการรับรองหรือ la légalisation
5. ขอเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แนะนำภาษาอังกฤษเพราะค่าแปลถูกกว่าแปลจากภาษาไทยเกินครึ่ง

                                                  ตัวอย่างหนังสือรับรองความประพฤติ 



Image : http://www.pcscenter.sb.police.go.th/pics/certificate.jpg
 


วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การขอใบรับรองประวัติอาชญากรรม (casier judiciaire) ของประเทศฝรั่งเศส

การขอ casier judiciaire ในฝรั่งเศส สำหรับผู้ที่เกิดนอกประเทศฝรั่งเศส ต้องขอหมายเลข 3 ซึ่งสามารถขอได้ ทาง                                                                                                                                                                                                                     
1. internet ตามนี้  http://b3nref.cjn.justice.gouv.fr/selfserviceB3/register.do

2 .ทางไปรษณีย์    
                                                                                                                                                         
Casier Judiciaire National,
44317 Nantes cedex 3
ใช้เวลาราวๆ 15   วัน                                                                                                                                  
3. ด้วยตนเอง

Casier judiciaire national                                                                                                   
107, rue du Landreau,
Nantes

Tramway สาย 1 arrêt Landreau
Bus สาย 87 ( ป้าย Ruette) หรือ สาย 12 (ป้าย Colinière)                                                          

เวลาทำการ จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9h - 12h15 และ 13h45 - 16h
ปิดช่วงบ่าย วันที่ 1 ก.ค. - 31 ส.ค.

สามารถรอรับได้ทันที

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การขอสัญชาติฝรั่งเศสด้วยการแต่งงาน สำหรับการยื่นขอในประเทศฝรั่งเศส (Nationalité française par mariage en France)

ข้อมูลส่วนใหญ่อ้างอิงมาจาก website หลัก ตามนี้   http://vosdroits.service-public.fr/particuliers/F2673.xhtml

เงื่อนไข

สามารถยื่นขอสัญชาติหลังจากแต่งงานมาแล้ว 4 ปี และต้องอยู่ร่วมกันมา 5 ปี ถ้าหากไม่
สามารถพิสูจน์ได้                                                                                                          
- จะต้องมี titre de séjour อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี หลังจากแต่งงาน                                   
- ถ้าหากอาศัยอยู่นอกประเทศฝรั่งเศส จะต้องมีบันทึกจากทางการว่าอาศัยอยู่นอกประเทศตลอดระยะเวลาแต่งงานจริงๆเป็น เวลา 4 ปี ถ้าหากจดทะเบียนสมรสในตปท.ก็จะต้องบันทึกในสถานฑูตฝรั่งเศส คือพูดง่ายๆราชการฝรั่งเศสรับรอง

การยื่นคำขอ

 ที่ แผนก naturalisation ของ la préfecture, sous-préfecture หรือ la mairie หรือ tribunal de l'instance ขึ้นอยู่กับเมืองที่คุณสังกัดว่าจะยื่นที่ไหน สำหรับผู้ที่พำนัก ณ ประเทศอื่น จะต้องยื่นผ่านสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศนั้นๆ

 เอกสารประกอบการยื่น (Pièces à fournir )

 รายชื่อเอกสารที่นำมาลงให้นั้นนำมาจากส่วนกลาง ส่วนรายชื่อเอกสารที่แท้จริงจะต้องไปขอที่แผนก la naturalisation จนท.จะให้รายชื่อเอกสารและแบบฟอร์มมาให้กรอก ซึ่งเอกสารหลักๆนั้นจะคล้ายๆกัน บางแห่งอาจจะขอเอกสารเพิ่มเติม ดังนั้นให้ดูเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้นค่ะ

1. Formulaire de déclaration cerfa n°15277*01 en 2 exemplaires, datés et signés

     แบบฟอร์ม  Cerfa n°15277*01 2 ชุด เขียนวันที่และเซ็นชื่อ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากที่นี่
      https://www.formulaires.modernisation.gouv.fr/gf/cerfa_15277.do

2.  Justificatif d'identité du demandeur (par exemple titre de séjour, passeport ou toute autre pièce d'identité délivrée par les autorités de son pays d'origine)

เอกสารระบุตัวตนของผู้ยื่นคำขอ เช่น บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (titre de séjour) ,พาสปอร์ต  หรือบัตรประชาชน หรือ เอกสารอื่นที่ระบุตัวตนที่ทางราชการของประเทศผู้ยื่นคำขอนั้นออกให้

3. Justificatif d'identité du conjoint français : document officiel délivré par l'administration française en cours de validité ou périmé depuis moins de 2 ans, comportant ses nom, prénom, date et lieu de naissance et sa photo

เอกสารระบุตัวตนของคู่สมรสชาวฝรั่งเศส ซึ่งเอกสารนี้จะต้องออกโดยทางการฝรั่งเศส มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ต้องมีรูปถ่าย ระบุ ชื่อ-นามสกุล วัน เดือน ปี เกิด และสถานที่เกิด เช่น หนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชน หรือ ใบขับขี่ อายุไม่เกิน 2 ปี

4.  Justificatif récent de domicile mentionnant nom, prénom et adresse complète

เอกสารรับรองระบุ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่โดยละเอียด เช่นใบรับรองจากบริษัทประกัน (l'attestation d'assurance) ,ใบรับรองจาก EDF (l'attestation titulaire de contrat )หรือ GDF,ใบรับรองจากบริษัทโทรศัพท์  etc.

5. Copie intégrale de son acte de naissance délivrée par l'officier d'état civil de son lieu de naissance (en cas d'impossibilité de fournir cette copie ou en cas de présentation d'un extrait plurilingue, d'autres documents seront demandés)

  สูติบัตรตัวจริงฉบับสมบูรณ์ซึ่งออกโดยจนท.เขต/เทศบาล/อำเภอ จะต้องมีตราประทับของนายทะเบียนและส่วนราชการ นั้นๆ จากประเทศไทย สามารถทำได้ดังนี้

ก่อนอื่นต้องถาม จนท.ให้ชัดเจนว่า

A. จะต้องใช้ traducteur assermenté เฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้น สามารถหารายชื่อได้จาก ที่นี่ หรือสามารถแปลเอกสารจากประเทศไทย เพราะหลายแห่งไม่รับเอกสารแปลจากประเทศไทย

B. จะต้องรับรองเอกสาร (légaliser) ในฝรั่งเศสเท่านั้นหรือสามารถ légaliser ที่เมืองไทยได้ เพราะหลายแห่งไม่รับการรับรองเอกสารจากประเทศไทย ต้องถามจนท.ให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง เพราะถ้าทำเอกสารผิด ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นมากโดยไม่จำเป็น

5.1 หากท่านมีสูติบัตรตัวจริง ให้นำไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสกับนักแปลเอกสารทางด้านกฏหมาย (traducteur assermenté) ที่ได้รับการรับรองจากศาล  cours d'appel เท่านั้น นักแปลจะมีตราประทับ traducteur assermenté หรือ traductrice assermentée หลังจากนั้นให้ส่งไปทำการรับรองเอกสาร ( la légalisation) ที่สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส เวลายื่นให้ยื่นสูติบัตรตัวจริงพร้อมฉบับแปล ถ้าหากอยากขอสูติบัตรตัวจริงคืนให้เขียนจดหมายแนบไปกับเอกสารด้วย หากลืมเขียนจดหมายตอบรับ (la lettre recommandée avec demande d'avis de réception ) ส่งไปทวงที่นี่

Ministère des affaires étrangères ,
Direction des Français à l'étranger et l'administration consulaire ,
Service central d'état civil
11 rue de la maison blanche 44941 NANTES cedex 9  

เบอร์โทร 08 26 08 06 04 (0,15 € /min )

5.2 หากท่านไม่มีสูติบัตรตัวจริง

- ให้ทำการคัดสำเนาสูติบัตรที่เขต/เทศบาล/อำเภอ สูติบัตรดังกล่าวจะต้องมีตราประทับของนายทะเบียนและส่วนราชการ นั้นๆ หากท่านไม่สามารถไปทำด้วยตนเองได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำแทน

- หลังจากนั้นให้นำไป ประทับตรากับ

ฝ่ายนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ
123 ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่
กทม.10120
เบอร์โทร 02 981 7171

หรือ ที่สำนักงานหนังสือเดินทางตามจังหวัดใหญ่ๆ เช่น สงขลา เชียงใหม่

- แปลกับ traducteur assermenté หรือ traductrice assermentée

-  หลังจากนั้นให้ส่งไปทำการรับรองเอกสาร ( la légalisation) ที่สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส

ที่มา  http://www.thaiembassy.fr/wp-content/uploads/d%C3%A9marches-pour-lattestation-de-naissance-1.pdf

หลังจากนั้นให้ทำการเขียนจดหมายระบุว่าสูติบัตรไทยออกให้ครั้งเดียว ไม่มีวันหมดอายุ หรือ จะแนบ Certificate de coutume ตามไปด้วยก็ได้





Image : http://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=20296


6. Copie intégrale récente (de préférence de moins de 3 mois) de son acte de mariage ou, quand le mariage a été célébré à l'étranger, une copie récente (également de préférence de moins de 3 mois) de la transcription de l'acte, délivrée par les services consulaires français ou le service central d'état civil du ministère des affaires étrangères à Nantes

ทะเบียนสมรสฉบับสมบูรณ์  อายุน้อยกว่า 3 เดือน

6.1 หากแต่งงานที่ฝรั่งเศส ให้ยื่นคำขอด้วยตนเองกับทาง Service de l'état civil ของทาง la mairie ที่คุณจดทะเบียน หรือขอผ่านทาง internet ทาง website ของ la mairie ที่คุณจดทะเบียน

6.2 หากจดทะเบียนที่ประเทศไทยหรือประเทศอื่น ให้ขอกับทาง Service central d’Etat civil ตามนี้

A. ทางไปรษณีย์


Ministère des Affaires étrangères
Service central d’Etat civil
11, rue de la Maison Blanche
44941 NANTES Cedex 09

B. Internet

https://pastel.diplomatie.gouv.fr/dali/index2.html 

7. Attestation sur l'honneur des 2 époux certifiant qu'à la date de cette déclaration, la communauté de vie tant affective que matérielle, n'a pas cessé entre eux depuis le mariage. Cette attestation est établie sur un modèle remis par la préfecture ou le consulat. Les époux doivent se déplacer en personne et la signer ensemble, devant les services préfectoraux ou consulaires, le jour de la souscription de la déclaration.

เอกสารรับรองว่าอาศัยอยู่ร่วมกันจริงของคู่สมรสทั้ง 2 คน ว่าไม่เคยแยกกันอยู่หรือเลิกรากันตั้งแต่แต่งงาน ปกติเขาจะมีแบบฟอร์มนี้ให้เซ็นที่ la préfecture และจะต้องทำการลงลายมือชื่อต่อหน้าจนท.ทั้ง 2 คน

8. Tous justificatifs récents et concordants sur la communauté de vie entre les époux : notamment la copie intégrale de l'acte de naissance des enfants nés avant ou après le mariage et établissant la filiation à l'égard des 2 conjoints, un avis d'imposition fiscal conjoint, un acte d'achat d'un logement en commun, un contrat de bail conjoint et la dernière quittance de loyer au nom des 2 époux...,

เอกสารรับรองว่าคู่สมรสอยู่ร่วมกัน เช่น สูติบัตรของลูก ทั้งก่อนหรือหลังแต่งงาน ,ใบเสียภาษีที่มีชื่อร่วมกัน,เอกสารสัญญาซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อร่วมกัน,สัญญาเช่าบ้านที่มีชื่อร่วมกัน,une attestation d'un compte bancaire joint en activité เอกสารรับรองจากธนาคารที่คู่สมรสมีชื่อร่วมกันและยังคงใช้อยู่ etc.

9. Certificat de nationalité française, actes d'état civil ou tous autres documents émanant des autorités françaises (ampliation du décret de naturalisation ou déclaration enregistrée) de nature à établir que son conjoint possédait la nationalité française au jour du mariage et l'a conservée (les cartes nationales d'identité et les cartes consulaires ne sont pas acceptées)

ใบรับรองสัญชาติฝรั่งเศสของคู่สมรสฝรั่งเศส (CNF)  เอกสารนี้ต้องไปขอที่ศาล Tribunal d'instance ในเขตที่คู่สมรสฝรั่งเศสอาศัยอยู่  รายละเอียด  http://vosdroits.service-public.fr/particuliers/F1051.xhtml



Image : http://garnier.free.fr/famille/notrevie.html

10. Diplôme ou attestation prouvant un niveau de connaissance suffisant de la langue française (niveau B1)


Image : https://thefrenchturtle.wordpress.com/tag/delf/

Image : https://thefrenchturtle.wordpress.com/2012/12/18/delf-b1-exam-results/delf-b1_attestation/

11. Sauf cas exceptionnels, un extrait de casier judiciaire ou un document équivalent le concernant, délivré par une autorité judiciaire ou administrative compétente du ou des pays où il a résidé au cours des 10 dernières années, ou, lorsqu'il est dans l'impossibilité de produire ces documents, du pays dont il a la nationalité.

À noter : si vous prouvez que vous résidez en France depuis plus de 10 ans, vous n'avez pas à présenter de casier judiciaire étranger.

ใบรับรองประวัติอาชญากรรมหรือหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire)จากประเทศที่เคยอาศัยอยู่ภายใน 10 ปี ที่ผ่านมา แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ว่าหากไม่สามารถหาได้ทุกประเทศ อย่างน้อยก็ต้องยื่น casier judiciaire ของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่

Note : สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสตั้งแต่ 10 ปีเป็นต้นไป ยื่น casier judiciaire ของฝรั่งเศส  เพียงอย่างเดียว

รายละเอียดการขอหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศไทย สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก ที่นี่

รายละเอียดการขอหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศฝรั่งเศส สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก ที่นี่

ตัวอย่างหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศไทย
Image : http://pcscenter.sb.police.go.th/pics/certificate.jpg

12. บางแห่งอาจจะมีขอเอกสาร la copie intégrale de l'acte de naissance de vos parents ซึ่งก็คือสูติบัตรหรือที่คัดสำเนามาจากอำเภอ/เขต/เทศบาล ของบิดา มารดา ก็คือ สูติบัตรของพ่อแม่ผู้ขอ

มีการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกในปีพ.ศ.2452 และมีการทำทะเบียนบ้านเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2499 ดังนั้นบุคคลที่เกิดก่อนปีพ.ศ.2499 จะไม่มีสูติบัตรค่ะ ซึ่งก็ไม่ทราบเหมือนกันสูติบัตรเริ่มมีเมื่อไหร่

ซึ่งเราสามารถใช้สำเนาบัตรประชนของบิดา-มารดา ก็ได้ค่ะ หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง มีวันเดือนปีเกิด (เฉพาะหน้าที่มีชื่อบิดา-มารดา ไม่จำเป็นต้องใช้หน้าแรก) หรือ ขอให้เป็นเอกสารทางราชการใดๆก็ได้ที่ระบุวันเดือนปีเกิด หรือสถานที่เกิด ของบิดา มารดา เลือกยื่นเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งก็พอ ไม่จำเป็นต้อง légaliser หรือรับรองเอกสาร และไม่ต้องยื่นบัตรประชาชนตัว
จริงหรือทะเบียนบ้านตัวจริงหรือหนังสือเดินทางตัวจริง

หลังจากนั้นก็ต้องมาเขียนจดหมายปะหน้าอธิบายทำไมถึงไม่มีสูติบัตร สำคัญมาก 

13. Timbre fiscal 55 €  หรืออากรแสตมป์ ราคา 55 € สามารถซื้อได้ที่ TABAC หรือสนง.ของรัฐบาลต่างๆเช่น  la préfecture หรือ trésor public 






                                                              ตัวอย่าง Timbre fiscal


เอกสารประกอบอื่น ในกรณีต่างๆ Pièces spécifiques à chaque situation 

1. Justificatif(s) de la résidence régulière et ininterrompue en France pendant au moins 3 ans depuis le mariage. Exemples : titres de séjour, récépissés de demande de titre de séjour ou de demande d'asile, autorisations provisoires de séjour, contrats de travail, attestations Pôle emploi, factures d'électricité, bulletins de salaire...),

เอกสารพิสูจน์ว่าผู้ยื่นคำขอได้อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีตั้งแต่แต่งงาน ตัวอย่างเช่น บัตรต่างด้าว  (titres de séjour),บัตรต่างด้าวชั่วคราว (récépissés de demande de titre de séjour),สัญญาจ้างงาน (contrats de travail),ใบรับรองการว่างงานจาก Pôle emploi (attestations Pôle emploi), ใบเสร็จค่าไฟ (factures d'électricité),สลิปเงินเดือน (bulletins de salaire) etc.

2. Si les époux ont vécu ensemble à l'étranger, lorsque la durée du mariage est inférieure à 5 ans : certificat d'inscription de l'époux français au registre des Français établis hors de France pour la durée de vie commune à l'étranger,

กรณีคู่สมรสอาศัยอยู่ร่วมกันในต่างประเทศและระยะเวลาแต่งงานน้อยกว่า 5 ปี  : ใบรับรองของคู่สมรสฝรั่งที่ลงทะเบียนไว้กับสถานฑูตระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ

3.Si des enfants mineurs sont susceptibles de devenir français : copie intégrale de leur acte de naissance et documents prouvant leur résidence avec le demandeur de manière habituelle ou alternée en cas de séparation ou de divorce

Exemples : jugement de divorce, acte statuant sur la garde de l'enfant, attestation d'organismes sociaux, certificat de scolarité, attestation de stage, contrat d'apprentissage, attestation de présence en crèche...),

กรณีที่ลูกซึ่งยังเป็นเยาวชนมีแนวโน้มที่จะได้รับสัญชาติฝรั่งเศส  : สูติบัตรฉบับสมบูรณ์และเอกสารที่พิสูจน์ว่าอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ร้องขอหรืออาศัยอยู่กับผู้อื่นในกรณีผู้ยื่นคำขอหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ 

ตัวอย่างเช่น ใบหย่า,ใบปกครองว่าผู้ใดเป็นผู้ปกครอง,หนังสือจากองค์กรเพื่อสังคม,ใบรับรองจากโรงเรียน,สัญญาทดลองงาน,หนังสือรับรองจากสถานเลี้ยงเด็ก etc.

4. Si un enfant a été adopté : copie de la transcription de la décision d'adoption plénière de l'enfant par le demandeur, ou à défaut,  copie de la décision accompagnée de tous documents justifiant de son caractère définitif,

กรณีเด็กเป็นบุตรบุญธรรม : เอกสารการรับบุตรบุญธรรม

5. Si le demandeur a déjà été marié : copies intégrales des actes de mariage et preuves de la dissolution (jugements de divorce, acte de décès). Ces documents peuvent ne pas être demandés au conjoint français, sauf s'ils peuvent remettre en cause la recevabilité de la déclaration (par exemple mariage actuel entaché de nullité par bigamie ou nationalité française obtenue dans des conditions présumées frauduleuses).

ถ้าผู้ยื่นคำขอเคยแต่งงานมาแล้ว : ทะเบียนสมรส และ เอกสารพิสูจน์ว่าสิ้นสุดการหย่า (คำตัดสินจากศาล,ใบมรณบัตร)

นอกจากนี้ จนท.อาจจะมีขอเอกสารเพิ่มเติม เช่น l'attestation de la CAF , l'attestation de CPAM etc. 

บางแห่งจะต้องโทรไปนัดเพื่อยื่นเอกสาร หรือ บางแห่งสามารถยื่นได้เลย หลังจากนั้น จะมีจดหมายมานัดสัมภาษณ์ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส โดยที่คู่สมรสจะต้องไปด้วยหรือไม่ต้องไป จดหมายจะระบุไว้ ในระหว่างการพิจารณาอาจจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเยี่ยมที่บ้านเพื่อตรวจสอบว่าอาศัยอยู่ด้วยกันจริงหรือไม่ หรือ อาจจะมีจดหมายแจ้งให้ไปทำการสอบสวนกับจนท.ที่สถานีตำรวจ อย่างใดอย่างหนึ่ง หลังจากนั้นก็ใช้เวลาพิจารณา 9 เดือน - 1 ปี หากครบ 1 ปีไปแล้ว ยังพิจารณายังไม่เสร็จก็จะมีจดหมายมาบอก  หากในระหว่างดำเนินการมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น สถานภาพ,ที่อยู่ จะต้องส่งจดหมายลงทะเบียนตอบรับ ( la lettre recommandée avec demande d'avis de réception) ไปที่นี่


la sous-direction de l'accès à la nationalité française
bureau des déclarations de nationalité
93 bis rue de la Commune de 1871
44404 Rézé Cedex

ส่วนผลการพิจารณาว่าได้หรือไม่นั้นหากยื่นผ่าน la préfecture นั้นจะมีจดหมายมานัดวันรับพิธีรับมอบใบประกาศสัญชาติ และจะส่งสูติบัตรใหม่ภาษาฝรั่งเศสให้เราตรวจสอบ ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าหากได้ยื่นสูติบัตรตัวจริงไป ให้ทำการทวงตามที่อยู่ทางจดหมาย ในวันทำพิธีรับมอบจะต้องนำเอา titre de séjour  และ จดหมายแจ้ง (la convocation) ไปคืน จนท.จะให้เอกสารมาว่าได้คืน titre de séjour แล้ว เมื่อได้รับสูติบัตรแล้ว เราสามารถนำไปทำบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางฝรั่งเศสได้เลย แต่ที่สำคัญจะต้องเก็บหมายเลขอ้างอิงสูติบัตรตรงใบปะหน้าไว้ เพื่อใช้อ้างอิงในการขอสูติบัตรฝรั่งเศสในครั้งต่อไป ซึ่งต่อไปนี้จะต้องขอที่     Service central d'état civil du ministère des affaires étrangères , Nantes

การถือ 2 สัญชาตินั้น

ตามกฎหมายฝรั่งเศสเราสามารถถือสัญชาติได้หลายสัญชาติ โดยไม่จำเป็นที่จะสละสัญชาติเดิม ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะสัญชาติไทยและสัญชาติฝรั่งเศส เช่น สิทธิ์ของการได้ความช่วยเหลือ ในประเทศไทยนั้นหากท่านมีปัญหาต้องการลี้ภัยในสถานฑูตฝรั่งเศสในประเทศไทย ไม่สามารถที่จะทำได้เพราะคุณถือสัญชาติไทย รัฐบาลฝรั่งเศสไม่สามารถเข้าไปยุ่มย่ามได้ แต่ถ้าหากคุณอยู่ในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทยคุณสามารถขอความช่วยเหลือ จากสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศนั้นๆ หรือสถานฑูตไทยประจำประเทศนั้นๆได้ และที่ควรทราบการได้สัญชาติอันเนื่องมาจากการสมรส เป็นเพียงการได้มาโดยชั่วคราวเท่านั้น กล่าวคือ รัฐบาลฝรั่งเศสมีอำนาจตามมาตรา 21-4 ในการตรารัฐบัญญัติ (Décret) เพื่อคัดค้านโดยเหตุที่คู่สมรสชาวต่างชาตินั้นไม่อาจปฏิบัติตนให้กลมกลืนกับ สังคมฝรั่งเศสได้หรือมีความประพฤติที่เรียกได้ว่าไม่มีศักดิ์ศรี น่าอับอาย เช่น กรณีการสมรสแบบหลายภริยา (Polygamy) ซึ่งในบางสังคมเป็นเรื่องยอมรับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม แต่ในฝรั่งเศสถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือกรณีที่คู่สมรสต่างชาตินั้นลงโทษบุตรผู้เยาว์โดยใช้วิธีการรุนแรง (violence) โดยสรุปก็คือ การแสดงเจตนาว่าจะถือสัญชาติฝรั่งเศสที่ได้มาโดยการสมรสก็จะไม่มีผลใดๆทั้ง ถือได้ว่าไม่เคยได้รับสัญชาติฝรั่งเศส

 หมายเหตุ  คุณมีสิทธิ์เลือกเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อฝรั่งเศสหรือจะรักษาชื่อเดิมของคุณก็ย่อมได้เหมือนกัน

ref :- http://vosdroits.service-public.fr/particuliers/F334.xhtml
        http://www.senat.fr/rap/l05-371-1/l05-371-183.html
        http://vosdroits.service-public.fr/particuliers/F20406.xhtml
        https://www.gotoknow.org/posts/468662
        https://www.learners.in.th/posts/468658
        http://www.humanrights.ago.go.th/index.php?option=com_smf&Itemid=2&topic=6240.0&consult=4&ref=7824


UPDATE 29/07/2015