วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การทำหนังสือเดินทางกับสถานฑูตไทย ประจำกรุงปารีส / หนังสือเดินทางสูญหาย

ลอกมาจาก website ของสถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส ตามนี้

http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/หนังสือเดินทาง/



หนังสือเดินทาง


หนังสือ เดินทางไทยเป็นเอกสารราชการที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศไทย ในปัจจุบัน ไม่ว่าผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางที่กรมการกงสุล กรุงเทพมหานคร หรือที่ฝ่ายกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ก็จะได้รับหนังสือเดินทางรูปใหม่ที่เรียกว่า “อี-พาสปอร์ต” (e-Passport) ทั้งหมด


การขอมีหนังสือเดินทาง ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส


- บุคคลสัญชาติไทยผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หากประสงค์จะยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทาง จะต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง เนื่อง จากต้องบันทึกข้อมูลชีวภาพของผู้ร้อง ด้วยการถ่ายภาพใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือเพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูล และเพื่อรับบัตรคิวสำหรับการยื่นคำร้องฯ ในวันเดียวกันตามลำดับ ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ จะทำการปรับปรุงการให้บริการด้านหนังสือเดินทางให้มีประสิทธิภาพและสะดวกรวด เร็วมากยิ่งขึ้น โดยจะยกเลิกระบบนัดหมายเพื่อยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทาง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการจะยื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางสามารถติดต่อขอรับบริการได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ในเวลาระหว่าง 10.00 น. – 16.30 น. โดยไม่จำเป็นต้องนัดหมายล่วงหน้าได้ ตั้งแต่บัดนี้ โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ จะจำกัดการรับคำร้องขอมีหนังสือเดินทาง วันละไม่เกิน 30 ราย ยกเว้นผู้ที่เดินทางไกลมาจากต่างจังหวัด ทั้งนี้ การยกเลิกระบบนัดหมายล่วงหน้าทางโทรศัพท์ อีเมล์ หรือด้วยตนเอง และให้ประชาชนสามารถมายื่นคำร้องขอมีหนังสือเดินทางโดยไม่ต้องนัดหมายล่วง หน้านี้ก็เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ซึ่งไม่ต้องรอนัดหมายเป็นเวลานานหลายสัปดาห์อีกต่อไป ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

***กรุณาเตรียมเอกสารมาให้ครบถ้วนตามรายละเอียดที่ปรากฎด้านล่าง

หมายเหตุ ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยสามารถยื่นคำร้องขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้ก่อนหนังสือเดินทางเล่มเดิมหมดอายุไม่เกิน 6 เดือน
- กรณีบุคคลสัญชาติไทยเดินทางมาประเทศฝรั่งเศสเป็นการชั่วคราว (เช่น ท่องเที่ยว/ประชุม/ติดต่อธุรกิจ ฯลฯ) และหนังสือเดินทางสูญหาย สามารถติดต่อขอทำเอกสารเดินทางชั่วคราวได้ทันทีที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ในวันทำการ ระหว่างเวลา 09.30 – 12.30 น. และ 14.30 – 17.30 น. โทรศัพท์ +33 (0)1 56 26 50 50 เอกสารสำคัญ
เอกสาร และหลักฐานประกอบการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางของบุคคลสัญชาติไทยผู้มีถิ่น ที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ในกรณีต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
กรณีบุคคลทั่วไป (ขอมีหนังสือเดินทางใหม่เนื่องจากฉบับเดิมหมดอายุ)
  1. หนังสือเดินทางเล่มเดิมที่หมดอายุแล้วหรือกำลังจะหมดอายุ ยื่นพร้อมสำเนาจำนวน 2 ชุด (เฉพาะหน้าที่มีข้อมูลบุคคล)
  2. บัตรประชาชนไทยหรือบัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ในประเทศไทย จำนวน 1 ชุด
  4. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (หากมี)
  5. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
  6. เงินค่าธรรมเนียม 30 ยูโร (ขอรับเป็นเงินสด)
กรณี ผู้เยาว์ขอมีหนังสือเดินทางใหม่ (ผู้เยาว์มีทั้งบิดาและมารดาเป็นบุคคลสัญชาติไทย หรือกรณีผู้เยาว์มีบิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งเป็นบุคคลสัญชาติไทย)
  1. หลักฐานการจดทะเบียนเกิด (ใบเกิด หรือ “สูติบัตร”) ของไทย และของฝรั่งเศส
    ถ้ายังไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนเกิดของไทย ให้ติดต่อฝ่ายกงสุลเพื่อขอจดทะเบียนเกิดตามกฎหมายไทยให้เรียบร้อยก่อน
  2. สำเนาหนังสือเดินทางของทั้งบิดาและมารดา อย่างละ 1 ชุด (หากฝ่ายใดถือสัญชาติอื่น ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทางสัญชาตินั้นด้วย
  3. สำเนาบัตรประชาชนไทย ของมารดา 1 ชุด
  4. สำเนาทะเบียนบ้านไทย ของมารดา 1 ชุด
  5. สำเนาใบสำคัญการสมรส ซึ่งจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายต่างชาติก็ได้ จำนวน 1ชุด
    อย่างไรก็ดี กรณีที่บุตรเกิดจากมารดาไทยซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับบิดา ก็ไม่จำเป็นต้องแสดงสำเนาใบสำคัญการสมรส
  6. ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อ-สกุล ของบิดาหรือมารดา (หากมี)
  7. รูปถ่ายสีหน้าตรงของผู้เยาว์ ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
  8. เงินค่าธรรมเนียม 30 ยูโร (ขอรับเป็นเงินสด)
หมายเหตุ กรณีนี้ บิดา มารดา และผู้เยาว์ ต้องมาแสดงตนพร้อมกันต่อเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส
กรณีผู้เยาว์ขอมีหนังสือเดินทางโดยมีบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว
  1. หนังสือเดินทางเล่มเดิมของผู้เยาว์ (เด็ก) พร้อมสำเนา 2 ชุด
  2. หลักฐานการจดทะเบียนเกิด (ใบเกิด หรือ “สูติบัตร”) ของไทย 1 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้านไทย ของผู้เยาว์ 1 ชุด
  4. สำเนาเอกสาร ปค.14 (ซึ่งออกโดยที่ว่าการอำเภอที่บิดาหรือมารดามีภูมิลำเนาในประเทศไทย) 1 ชุด
  5. สำเนาหนังสือเดินทางไทยของบิดาหรือมารดา 1 ชุด
  6. สำเนาบัตรประชาชนไทย ของบิดาหรือมารดา 1 ชุด
  7. สำเนาทะเบียนบ้านไทย ของบิดาหรือมารดา 1 ชุด
  8. รูปถ่ายสีหน้าตรงของผู้เยาว์ ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 1 ใบ
  9. เงินค่าธรรมเนียม 30 ยูโร (ขอรับเป็นเงินสด)



****หนังสือเดินทางสูญหาย****


หากทำหนังสือเดินทางสูญหาย ต้องทำอย่างไร
สูญ หายในประเทศ ต้องติดต่อแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับแจ้งความจากเจ้าพนักงาน ตำรวจมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทาง ฉบับที่สูญหาย
สูญหายในต่างประเทศ ต้องแจ้งความหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตนหรือ เอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุด เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ หากในกรณีที่ผู้ทำหนังสือเดินทางสูญหายต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการ เร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง(Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งาน
ข้อแนะนำ ก่อนเดินทางออกนอกประเทศควรถ่ายเอกสารหนังสือเดินทางหน้าที่มีรูปถ่ายและข้อมูลส่วนบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุอยู่เก็บไว้แยกกัน อีกทั้งควรมีที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของสถานทูตและสถานกงสุลไทย ในประเทศที่จะเดินทางไปถึง หรือเดินทางผ่าน
เอกสาร สำคัญที่ใช้ติดต่อในการขอทำเอกสารเดินทางชั่วคราว (Certificate of Identity)ในกรณีที่บินกลับประเทศไทยโดยตรง หรือ ขอทำหนังสือเดินทางชั่วคราว ในกรณีที่บินกลับประเทศไทยโดยผ่านประเทศอื่น)
  1. ใบแจ้งความที่ได้แจ้งไว้กับตำรวจฝรั่งเศส พร้อมสำเนา 2 ชุด
  2. สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิมที่หาย จำนวน 2 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้านไทย จำนวน 2 ชุด
  4. สำเนาบัตรประชาชนไทย จำนวน 2 ชุด
  5. รูปถ่ายสีขนาด 2 นิ้ว จำนวน 3 ใบ
  6. สำเนาใบจองตั๋วเครื่องบินขากลับประเทศไทย จำนวน 2 ชุด
  7. เงินค่าธรรมเนียม เงินสด 10 ยูโร ในกรณีที่ติดต่อขอทำหนังสือเดินทางชั่วคราว

แบบฟอร์มคำร้องหนังสือเดินทาง ดาวโหลดได้ที่นี่
http://www.thaiembassy.fr/wp-content/uploads/2-2_Formulaire_E-passport.pdf

link สำหรับนัดหมายออนไลน์เพื่อขอทำหนังสือเดินทางของสถานฑูตไทย 

http://paris.thaivisareservation.com/default.aspx?qry=omy3B%2bv4Qig67s2XrA1fPZSxB8pXBoIOHAOcX7%2fnxu%2fxuWGGOJo83msq5twfk0Jz



ลอกมาจาก

http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/หนังสือเดินทาง/หนังสือเดินทางสูญหาย/

**** หมายเหตุ สำหรับการทำ e-passport นั้น ในประเทศฝรั่งเศสนั้นทำได้เฉพาะที่สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส เท่านั้น หรือ จะต้องรอกงสุลสัญจรมาทำให้ ส่วนผู้ที่มีที่พักอาศัยอยู่ตามชายแดน อาจจะขอทำที่ สถานฑูตไทยประเทศข้างเคียงก็อาจจะได้ แต่ไม่เสมอไป ***

***อีเมลสำหรับติดต่อสถานฑูต   thaiconsular.paris@hotmail.com ***


การเกณฑ์ทหาร

เรื่องการเกณฑ์ทหาร

คัดลอกมาจาก website กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม

http://www.sussadee.com/index1.htm


การลงบัญชีทหารกองเกิน

                การลงบัญชีทหารกองเกิน และการรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร
                ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย เมื่อมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ตามมาตรา ๑๖ ณ หน่วยสัสดีเขต/อำเภอ (ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ คือ ผู้เกิด พ.ศ.๒๕๔๑ ) โดยสามารถลงบัญชีได้ ภายใน ๓๑ ธ.ค.๕๘   ผู้ใดไม่สามารถไปแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกินด้วยตนเองได้   ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน (ปกติควรให้ผู้ปกครอง)   ถ้าพ้นกำหนดถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน   มีความผิดตามกฎหมาย
สำหรับชายไทยที่เกิด พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๔๐   หากยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินมาก่อน ก็ให้ไป แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอภูมิลำเนา ซึ่งมีความผิด จะต้องส่งดำเนินคดีก่อนรับลงบัญชีทหารกองเกิน โดยหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง คือ   บัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้านตนเอง บิดา มารดา และ สูติบัตร (ถ้ามี)
ชายไทยที่มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ คือ เกิด พ.ศ.๒๕๓๘   ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้ว จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารใน เม.ย.๕๙ ให้ไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร   ณ   หน่วยสัสดีเขต/อำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร  ภายใน ๓๑ ธ.ค.๕๘   ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้   ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และพอจะเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกแทน     ถ้าไม่รับหมาย ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน   มีความผิดตาม มาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ โดยนำหลักฐานไปแสดง คือ บัตรประจำตัวประชาชน และใบสำคัญ (แบบ สด.๙)

เรื่องการผ่อนผัน

ผ่อนผันไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก
  • นัก เรียนซึ่งไปศึกษาต่างประเทศ   ถ้าเป็นการศึกษาโดยทุนรัฐบาล ทางสำนัก ก.พ. จะดำเนินการขอผ่อนผันให้ แต่ถ้าเป็นการศึกษาโดยทุนส่วนตัว จะแยกการดำเนินการเป็น  ๒ กรณี คือ
หากยังไม่ได้เดินทางไปศึกษา
ให้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหารก่อนเดินทางโดยแจ้งว่าจะเดินทางเมื่อ ใด   และรับรองว่าเมื่อเดินทางไปถึงแล้วจะจัดส่งหนังสือรับรองสถานทูตมาให้ภายใน ๓ เดือน
หากเดินทางไปศึกษาแล้ว
ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร ดังนี้
                  ๑.หนังสือรับรองสถานทูต หรือสถานกงสุล โดยต้องมีรายละเอียดว่า ไปศึกษาวิชาอะไร สถานศึกษาใด ประเทศใด หลักสูตรกี่ปี และขอผ่อนผันกี่ปี
                  ๒.ใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.๙),หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕), บัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านของทหารกองเกิน และของผู้ยื่นคำร้อง
  • ผู้ที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงดูบุตรซึ่งมารดาตาย หรือต้องหาเลี้ยงดูพี่หรือน้องซึ่งบิดามารดา
ทั้ง นี้ ให้ยื่นขอผ่อนผันต่ออำเภอภูมิลำเนาทหารก่อนวันตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน และต้องไปแสดงตนเพื่อร้องขอต่อคณะกรรมการในวันตรวจเลือกด้วย
  • นิสิต/นัก ศึกษาผู้อยู่ในระหว่างศึกษาในสถาบันการศึกษาภายในประเทศ ให้ยื่นขอผ่อนผันต่อ สถานศึกษาได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป การขอผ่อนผัน สถานศึกษาจะต้องดำเนินการส่งหนังสือขอผ่อนผันถึงผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน ก.พ.๕๗ และต้องไปแสดงตนต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกทหารฯ ทุกปี ในระหว่างที่ขอผ่อนผัน มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย นิสิต/นักศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะขอผ่อนผันได้นั้น ได้แก่
                  ๑. นิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อรับปริญญา ผ่อนผันให้จนถึงอายุ ๒๖ ปี ยกเว้นนักศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ ผ่อนผันให้จนถึงอายุ ๒๗ ปี แต่หากจบการศึกษาก่อนกำหนดอายุ ก็หมดสิทธิการผ่อนผัน
                  ๒.นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาสายอาชีพ หรือสายเฉพาะทางอื่นๆ เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาหรือระดับปริญญา ผ่อนผันให้จนถึงอายุ ๒๖ ปี
                  ๓. นักเรียนในสถานศึกษาสายสามัญระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่อนผันให้จนถึงอายุ ๒๒ ปี
เมื่อขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาแล้ว ในวันตรวจเลือกฯ จะต้องไปแสดงตนเพื่อเข้ารับการตรวจเลือกในฐานะคนผ่อนผันทุกปีในระหว่างการ ผ่อนผัน และจะต้องได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือก (สด.๔๓) จากประธานกรรมการ หากไม่ไปแสดงตนก็จะมีความผิดเหมือนกันบุคคลทั่วไป เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะต้องแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันจบการศึกษา ผู้ที่ขอผ่อนผัน หากในวันตรวจเลือกฯ ประสงค์จะขอเข้าตรวจเลือกก็ให้ยื่นคำร้องขอสละสิทธิเพื่อเข้ารับการตรวจ เลือกภายในเวลา ๑๒.๐๐ น.ของวันตรวจเลือก

การยกเว้น
                 
การยกเว้น มี  ๒ ประเภท คือ
                  ๑. ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการ  (ยกเว้นให้ตลอดไป) คือ
                                    ๑.๑ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญและนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือ ญวนที่มีสมณศักดิ์
พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หมายถึง ยศของพระ เช่น เป็นพระครู   พระชั้นเทพหรือชั้นธรรม เป็นต้น
ส่วนตำแหน่งของพระ   เช่น เป็นเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ อย่างนี้เป็นตำแหน่ง ไม่ใช่สมณศักดิ์ จึงไม่ได้รับการยกเว้น  
พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์อาจไม่มีตำแหน่งก็ได้
พระภิกษุที่เป็นเปรียญ หมายถึง การศึกษาของพระ เช่น เป็นเปรียญตั้งแต่ ๓ ประโยค  ถึง ๙ ประโยค
นักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์นั้น หมายถึง ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ต่างกันที่ถือตามนิกายของจีนกับของญวน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            
นักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ต้องมีสมณศักดิ์ด้วย จึงจะได้รับการยกเว้น
                                    ๑.๒ คนพิการทุพพลภาพซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้
                  ๒. ยกเว้นไม่เรียกมาเข้ารับการตรวจเลือกในยามปกติ  คือ
                                    ๒.๑ พระภิกษุสามเณรซึ่งเป็นนักธรรม
พระภิกษุสามเณรซึ่งเป็นนักธรรม หมายถึง ผู้ที่จบนักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก เมื่อยื่นเรื่องขอยกเว้นและได้รับการยกเว้นแล้ว ไม่ต้องไปแสดงตนเข้ารับการตรวจเลือกฯ ถ้ายื่นไม่ทันก่อนการตรวจเลือก จะนำหลักฐานไปยื่นขอรับการยกเว้นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันทำการตรวจเลือก ก็ได้ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นต่อนายอำเภอเพื่อขอยกเว้น ได้แก่
                  - ประกาศนียบัตรจบนักธรรม
                  - ใบสำคัญ(แบบ สด.๙)
                  - หมายเรียก(แบบ สด.๓๕)
                  - หนังสือรับรองของเจ้าอาวาส
                  - หนังสือสุทธิ
                                    ๒.๒     ผู้อยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหาร (ยังไม่จบ รด.ปี ๓)
การขอยกเว้นให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีผู้ซึ่งอยู่ในกำหนดต้องเรียกมาตรวจเลือกฯ ส่ง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ นรด. ภายในเดือนตุลาคมของทุกปี หลักฐานเป็นหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมจะแจ้งไปยังจังหวัดภูมิลำเนาทหารของผู้ นั้น ให้จัดการยกเว้นให้ แล้วผู้นั้นไม่ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือก
                                    ๒.๓     ครูในสถานศึกษา
ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น รวมถึงครูอัตราจ้างด้วย แต่ครูไม่ได้รับการยกเว้นทุกคน   ครูที่จะมีสิทธิได้รับการยกเว้นจะต้องเข้าลักษณะตามที่กำหนด ดังนี้
                  เป็นครูประจำทำการสอนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา ไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติและในจำนวนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนนี้ ยกเว้นครูได้คนเดียว หรือเป็นครูสอนประจำเฉพาะวิชาซึ่งทำการสอนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติ และในจำนวนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนนี้   ก็ยกเว้นครูได้คนเดียวเช่นกัน
มีเวลาสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง สำหรับครูซึ่งประจำทำการสอนในสถานศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาลงมา   หรือไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง สำหรับครูซึ่งประจำทำการสอนในสถานศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา
                  วิธีการยกเว้นครู
                  ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อครูซึ่งจะได้รับการยกเว้นไปยังผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งครูผู้นั้นทำการสอนอยู่ในท้องที่ก่อนเดือนเมษายนของปีที่ถูกเรียกไม่น้อยกว่าหกสิบวัน  เว้นแต่กรณีการย้ายไปประจำทำการสอนในสถานศึกษาอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในใบ สำคัญยกเว้นครู ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อครูที่ย้ายมาประจำทำการสอนซึ่งจะได้ รับ การยกเว้นน้อยกว่าหกสิบวันได้ แต่ต้องก่อนการตรวจเลือกในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาทหารของครูผู้นั้น
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ออกใบสำคัญ     ยกเว้นครูให้แก่ครูซึ่งทำการสอนอยู่ในท้องที่ แล้วแจ้งให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอท้องที่ที่เป็น   ภูมิลำเนาทหารของครูผู้นั้นทราบ ถ้าครูผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในท้องที่จังหวัดอื่น ต้องแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของครูผู้นั้นทราบ   แล้วให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับแจ้งแจ้งให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของครูผู้นั้นทราบอีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้ให้แจ้งต่อกันภายในกำหนด ๓๐ วัน
                                    ๒.๔ ผู้ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ
เป็นบุคคลที่ได้แปลงสัญชาติเป็นคนไทยตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่จะทราบว่าเป็นบุคคลประเภทนี้ตั้งแต่ไปแสดงตนขอลงบัญชีทหารกอง เกินแล้ว จะจัดการยกเว้นให้ทันทีโดยตัวไม่ต้อง ขอยกเว้นอีก
                                    ๒.๕ บุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกครั้งเดียวตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปหรือเคยได้รับโทษจำคุกโดยคำ พิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหลายครั้งรวมกันตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปหรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน


การตรวจโรคทหารกองเกินก่อนการตรวจเลือกทหารฯ

                  ขอให้ทหารกองเกินที่จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารฯ ใน   เม.ย.๕๘   ที่สงสัยว่าตนเองมีโรคที่น่าจะขัดต่อการรับราชการทหารกองประจำการ ไปเข้ารับการตรวจโรคก่อนการตรวจเลือก ณ โรงพยาบาลทหารตามที่กองทัพบกกำหนด ไว้ จำนวน ๒๐ แห่ง   ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๗ เป็นต้นไปจนถึง   ๒๐ ก.พ. ๕๘ ซึ่งโรงพยาบาลจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคไว้เป็น การเฉพาะ และทำให้ทหารกองเกินทราบได้ได้ล่วงหน้าก่อนวันทำการตรวจเลือกว่าเป็นโรคที่ ขัดต่อการรับราชการทหารหรือไม่    
โรคที่ควรไปเข้ารับการตรวจ ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของ ตา , หู , โรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด , โรคของระบบหายใจ , โรคของระบบปัสสาวะ , โรคหรือความผิดปกติของกระดูก , ข้อ และกล้ามเนื้อ ,  โรคของต่อมไร้ท่อ  และภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัม ,โรคติดเชื้อ ,  โรคทางประสาทวิทยา ,  โรคทางจิตเวช และโรคอื่น ๆ  เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
โรงพยาบาลสังกัด กองทัพบก   ๒๐   แห่ง   ได้แก่

ส่วนกลาง : รพ.พระมงกุฎเกล้า (กรุงเทพฯ) , รพ.อานันทมหิดล (ลพบุรี) ,       รพ.ค่ายธนะรัชต์ (ประจวบคีรีขันธ์)  และ รพ.โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ (นครนายก)
ทภ.๑ : รพ.ค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี) , รพ.ค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี) , รพ.ค่ายอดิศร (สระบุรี) และ รพ.ค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี)
ทภ.๒ : รพ.ค่ายสุรนารี (นครราชสีมา) , รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์(อุบลราชธานี) , รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม (อุดรธานี ) , รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์) และ รพ.ค่ายกฤษณ์สีวะรา (สกลนคร)
ทภ.๓ : รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก) , รพ.ค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์) , รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง) และ รพ.ค่ายกาวิละ (เชียงใหม่)
ทภ.๔ : รพ.ค่ายวชิราวุธ (นครศรีธรรมราช), รพ.ค่ายเสนาณรงค์ (สงขลา) และ รพ.ค่ายอิงคยุทธบริหาร (ปัตตานี)
เอกสาร ที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน ใบสำคัญ(แบบ สด.๙),หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร  (แบบ สด.๓๕)และหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ฉบับจริงพร้อมสำเนา


เรื่องสิทธิลดวันรับราชการทหาร

                  บุคคลที่สามารถใช้สิทธิลดวันรับราชการทหารได้ มีดังนี้
                  ๑. ข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร, ข้าราชการตุลาการ, ดะโต๊ะยุติธรรม, ข้าราชการอัยการ, ข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นข้าราชการธุรการชั้นตรีหรือเทียบเท่า, ข้าราชการพลเรือนชั้นตรีหรือเทียบเท่า, พนักงานเทศบาลชั้นตรีหรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จชั้นอุดมศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ   ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยาฐานะเทียบเท่า
จับสลากถูกเป็นทหาร ๑ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๖ เดือน            
                  ๒. ผู้สำเร็จชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๒ หรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จจาก ร.ร.อาชีวศึกษาชั้นสูงของ   กระทรวงศึกษาธิการ, ผู้สำเร็จวิชาชีพ หลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓ ปี จาก ร.ร.อาชีวะที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองและรับจากผู้สำเร็จ ม.ศ.๓ ผู้สำเร็จประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ ๒ ชั้นขึ้นไป        
จับสลากถูกเป็นทหาร ๒ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๑ ปี
                  ๓. ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร
                                    ชั้นปีที่ ๑ เข้าจับสลากเป็นทหาร ๑ ปี ๖ เดือน ถ้าสมัครเป็นเพียง ๑ ปี
                                    ชั้นปีที่ ๒ เข้าจับสลากเป็นทหาร ๑ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๖ เดือน
                                    ชั้นปีที่ ๓ ขึ้นทะเบียนและนำปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ (ไม่ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือก)
                  ๔. ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารจากต่างประเทศ ต้องให้กระทรวงกลาโหมรับรองเทียบกับผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารของ รด. ก่อน แล้วจึงขอรับสิทธิตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
           
                  คำเตือน
                  การขอสิทธิลดวันรับราชการทหาร ต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิพิเศษโดยยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก โดยทำคำร้องไว้พร้อมทั้งขอใบรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ด้วย
ผู้เข้ารับการตรวจเลือก จะได้ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓) จากประธานกรรมการในวันตรวจเลือกทุกคน
ขอ ให้ทหารกองเกินที่จะต้องเข้าตรวจเลือก ฯ ใน เม.ย. ๕๗ ไปรับหมายเรียกได้ ณ  หน่วยสัสดีเขต/อำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหารตามใบสำคัญ (แบบ สด ๙)

ขั้นตอนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ


              ขั้นตอนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร)
              ใน วันตรวจเลือกทหารกองเกิน (วันเกณฑ์ทหาร) เวลา ๐๗.๐๐ น. ทหารกองเกินที่ได้รับหมายเรียก (แบบ สด.๓๕) แล้วทุกคนเข้าแถวตามตำบล เคารพธงชาติ ประธานกรรมการตรวจเลือกทหาร ชี้แจงความจำเป็นถึงการตรวจเลือกทหาร เมื่อประธานกรรมการชี้แจงเสร็จ  กรรมการสัสดีจะชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจเลือกทหาร รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ คือ ผู้ที่สมัครหรือผู้ที่จับสลากแดงได้ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
              โต๊ะที่ ๑ เรียกชื่อ    กรรมการจะเรียกชื่อทหารกองเกินเข้ารับการตรวจเลือก
              โต๊ะที่ ๒ ตรวจร่างกาย    กรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่
กรรมการสัสดีกำหนดคนเป็น ๔ จำพวก คือ
          จำพวกที่ ๑ คนร่างกายสมบูรณ์ดี
          จำพวกที่ ๒ คนที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ ๑ แต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ
          จำพวกที่ ๓ คนที่ได้รับอุบัติเหตุหรือมีโรครักษาให้หายไม่ได้ภายใน ๓๐ วัน
          จำพวกที่ ๔   คนที่ร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคที่กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร
              โต๊ะที่ ๓ วัดขนาด    กรรมการจะวัดขนาดสูงและขนาดรอบตัวของร่างกาย
ประธานการตรวจเลือกทหาร จะตรวจสอบขั้นสุดท้าย ถ้าร่างกายสมบูรณ์ดีและขนาดสูง ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขนาดรอบตัว ๗๖ เซนติเมตร ในเวลาหายใจออกเรียกว่าคนได้ขนาด และจะให้รอจับสลาก เมื่อมีคนได้ขนาดพอกับยอดจำนวนที่ต้องการคนเข้ากองประจำการ  ทหารกองเกินที่มีขนาดสูงต่ำกว่า ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขนาดรอบตัวต่ำกว่า ๗๖ เซนติเมตร ในเวลาหายใจออก และคนจำพวกที่ ๒,๓,๔ ซึ่งร่างกายไม่สมบูรณ์ดีหรือร่างกายพิการทุพพลภาพหรือมีโรคที่ขัดต่อการเป็น ทหารกองประจำการ   ประธานกรรมการจะปล่อยตัวพร้อมกับมอบใบรับรองผลการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๓) ให้ทหารกองเกินรับไป
ทหารกองเกินหรือบุคคลที่จับสลากแดงหรือสมัครเข้า เป็นทหารกองประจำการ   ประธานกรรมการตรวจเลือกจะส่งตัวให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ออกหมายนัดให้ไปเข้ารับราชการทหารตามผลัดที่จับสลากได้ หรือผลัดที่สมัครไว้

นอกจากนี้คุณสามารถ download แผ่นพับคำอธิบายต่างๆได้จากที่นี่

http://www.sussadee.com/PR/A401.pdf

คำแนะนำเรื่องเอกสารต่างๆ โปรดอ่านจากที่นี่

http://www.engrdept.com/Burachat/sadsadee_army.htm

ข้อแนะนำการติดต่อราชการที่ทำการสัสดีเขต/อำเภอ


การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร)
      บุคคลที่มีสัญชาติไทยเมื่ออายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) ตามภูมิลำเนาของบิดา   ถ้าบิดาถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกินตามภูมิลำเนาของมารดา   ถ้าบิดา มารดาถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกิน ตามภูมิลำเนาของผู้ปกครองและเมื่อลงบัญชีทหารกองเกินเสร็จแล้วจะได้รับใบ สำคัญ (แบบ สด.๙) โดยนำหลักฐานไปลงบัญชีทหารดังนี้
      ๑. บัตรประจำตัวประชาชน
      ๒. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
      ๓. สูติบัตร (ถ้ามี)
การรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร
      บุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหารฯ)ไว้แล้ว เมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) ภายในปี พ.ศ.นั้น ๆ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับหมายเรียกแทน   จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และนำหลักฐานไปยืนต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำเภอ ดังนี้
      ๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
      ๒. บัตรประจำตัวประชาชน
การเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล
      บุคคลซึ่งเป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุน เมื่อได้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ต้องไปยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ในบัญชีทหารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยนำหลักฐานไปยื่นต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้ เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ดังนี้
      ๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘)
      ๒. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล
         ๓. บัตรประจำตัวประชาชน
      ๔. สำเนาทะเบียนบ้าน

       
ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) และหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) แทนฉบับที่ชำรุดหรือสูญหาย
      เมื่อใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ชำรุดหรือสูญหายให้ผู้ถือใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) แจ้งต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ท้องที่ภูมิลำเนาทหาร โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้
      ๑. บัตรประจำตัวประชาชน
      ๒. ใบรับแจ้งเอกสารหาย
      ๓. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น ขนาด ๓x๔ ซม. จำนวน ๓ รูป กรณีขอหนังสือ     สำคัญ (แบบ สด.๘)
การแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหาร
      บุคคลใดย้ายไปอยู่ที่ใหม่มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักฐาน และมีความประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร ให้ยื่นคำร้องแจ้งต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำเภอท้องที่ที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่ โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้
      ๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘)
      ๒. บัตรประจำตัวประชาชน
      ๓. สำเนาทะเบียนบ้าน
การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารหรือการเกณฑ์ทหาร
      ๑. การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูบิดา มารดา
         บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร เพื่อเลี้ยงดูบิดา มารดา ซึ่งไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผันดังนี้
        ๑.๑   ถ้ามีบุตรต้องเกณฑ์ทหารพร้อมกันหลายคน ให้บิดา มารดาเลือกเพียงคนเดียว
        ๑.๒ บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการ เขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ก่อนวันเกณฑ์ทหารไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
        ๑.๓ บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารต้องร้องขอผ่อนผันต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกอีกครั้งหนึ่ง
       ๑.๔ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงการขอผ่อนผัน
        ๑.๔.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.9)
        ๑.๔.๒ หมายเรียก (แบบ สด.35)
        ๑.๔.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/บิดาหรือมารดา
        ๑.๔.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
        ๑.๔.๕ หลักฐานที่แสดงว่า บิดาหรือมารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
        ๑.๔.๖ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง
      ๒.   การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูบุตร
            บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อเลี้ยงดูบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ ซึ่งบุตรยังหาเลี้ยงชีพไม่ได้ หรือไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผันดังนี้
        ๒.๑ ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า ประจำกิ่ง อำเภอ ก่อนถึงวันเกณฑ์ทหาร/ตรวจเลือกทหารไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
        ๒.๒ ร้องขอต่อคณะกรรมการตรวจเลือกทหาร ในวันตรวจเลือกทหาร/วันเกณฑ์ทหารอีกครั้งหน้า
            ๒.๓ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันมีดังนี้
                  ๒.๓.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
                  ๒.๓.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
                  ๒.๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/ภรรยา
                  ๒.๓.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
                  ๒.๓.๕ ใบสำคัญการสมรส/ทะเบียนสมรส
                  ๒.๓.๖ ใบมรณบัตรของภรรยา (ถ้ามี)
                  ๒.๓.๗ หลักฐานที่แสดงว่าภรรยาไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
                  ๒.๓.๘ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
      ๓.   การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูพี่หรือน้อง
            บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อเลี้ยงดูพี่หรือน้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ซึ่งบิดา มารดาตาย ทั้งนี้พี่หรือน้องหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผัน ดังนี้
        ๓.๑   ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า ประจำกิ่งอำเภอก่อนถึงวันตรวจเลือก/วันเกณฑ์ทหารไม่น้อยกว่า ๓๐   วัน
            ๓.๒ ร้องขอต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก (วันเกณฑ์ทหาร) อีกครั้งหนึ่ง
            ๓.๓ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันมีดังนี้
                  ๓.๓.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
                  ๓.๓.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
                  ๓.๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/พี่/น้อง
                  ๓.๓.๔ ใบสูติบัตร/ใบเกิด ของพี่หรือน้อง
                  ๓.๓.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน
                  ๓.๓.๖ ใบมรณบัตรของบิดาหรือมารดา
                  ๓.๓.๗ หลักฐานที่แสดงว่า บิดา มารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
                  ๓.๓.๘ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง
      ๔.   การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อศึกษาภายในประเทศ
               การผ่อนผันเนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษาภายในประเทศ เป็นการผ่อนผันให้เนื่องจากมีจำนวนคนมากกว่าจำนวนคนที่หน่วยทหารต้องการ ซึ่งได้แก่
        ๔.๑   นักเรียนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ ( ม.๖ ) หรือเทียบเท่า จะได้รับ การผ่อนผันจนสำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือเทียบเท่า แต่อายุไม่เกิน ๒๒ ปีบริบูรณ์
        ๔.๒ นิสิตหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ สถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จะผ่อนผันให้ศึกษาที่ไม่สูงกว่าระดับปริญญาโท และจนถึงอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์แต่สำหรับการศึกษาภาคนอกเวลาหรือภาคสมทบ หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชต้องมีผล การศึกษาสอบไล่ได้ภาคละไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต ทุกภาคติดต่อกัน

            ให้ผู้ที่ต้องการขอผ่อนผันดำเนินการดังนี้

            ๑.   ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาที่ศึกษาอยู่
            ๒. ไปเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อใช้สิทธิ์การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารในวันตรวจเลือก
            ๓. หลักฐานที่ใช้ประกอบในการขอผ่อนผัน คือ
          ๓.๑ ใบสำคัญ ( แบบ สด.๙ )
          ๓.๒ หมายเรียก ( แบบ สด.๓๕ )
          ๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชน  
      ๕.   การขอผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อไปศึกษาวิชา ณ   ต่างประเทศ
           การผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเนื่องจากไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศจะได้รับการผ่อนผันการตรวจเลือกทหารตามจำนวนปีที่ใช้การศึกษาตาม หลักสูตรจนกว่าจะจบการศึกษา แล้วยกเว้นให้ไม่ต้องมาแสดงตนในวันตรวจเลือกเกณฑ์ทหารโดยมีขั้นตอนการขอ ผ่อนผันดังนี้
        ๕.๑ ให้นักเรียนผู้ขอผ่อนผันหรือมอบอำนาจให้บิดา มารดา หรือ ผู้ปกครอง ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า ประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร
            ๕.๒ หลักฐานที่จะต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันทหาร
                  ๕.๒.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
            ๕.๒.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
            ๕.๒.๓ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอผ่อนผันของผู้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันแทน
       ๕.๒.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
            ๕.๒.๕ หนังสือรับรองของสถานศึกษาพร้อมสำเนาคำแปลเป็นภาษาไทย
      ๕.๒.๖ หนังสือรับรองของสถานฑูตหรือสถานกงสุลไทย ณ ประเทศที่ไปศึกษา

หนังสือรับรองเพื่อขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร จากสถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส

คัดลอกมาจาก

http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/งานนิติกรณ์/หนังสือรับรองเพื่อขอผ่/

ชาย ไทยที่มีอายุการเข้ารับการเกณท์ทหาร (17 ปีขึ้นไป) แต่ไม่สามารถไปรายงาน     ตัวได้ตามกำหนด สามารถมายื่นเรื่องขอหนังสือรับรองเพื่อขอผ่อนผันการเกณท์   ทหารเพื่อนำไปยื่นต่อสัสดีอำเภอได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมเอกสารดังนี้

1. หนังสือรับรองจากสถานศึกษา 2 ฉบับ (ตัวจริง 1 สำเนา 1) เอกสารนี้ต้องไปรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส แล้วนำมาแปลเป็นภาษาไทย พร้อมกับรับรองที่สถานฑูตไทย กรุงปารีส



ที่อยู่ กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส


Bureau des Légalisations

57, boulevard des Invalides
75007 PARIS
Métro : Duroc
Tél. : 01 53 69 38 28 - 01 53 69 38 29 (de 14h à 16h)
Courriel : bureau.legalisation@diplomatie.gouv.fr
Le Bureau est ouvert au public du lundi au vendredi (sauf les jours fériés) de 8h30 à 13h15.

2. หนังสือรับรองจากสถานศึกษาแปลเป็นภาษาไทยทั้งฉบับ 2 ฉบับ (ตัวจริง 1 สำเนา 1) ผู้แปลลงชื่อ ตำแหน่งและที่อยู่ด้วย

3.  หนังสือรับรองจากสถานฑูตหรือสถานกงสุลไทย 2 ฉบับ (ตัวจริง 1 สำเนา 1)

4. สำเนาใบสำคัญทหารกองเกิน (แบบ สด.9) ของนักเรียน 2 ฉบับ

5. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของนักเรียน 2 ฉบับ

6. สําเนาทะเบียนบ้านของนักเรียน 2 ฉบับ

7. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้ยื่น 2 ฉบับ

8. สําเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่น 2 ฉบับ

การรับรองเอกสารทางไปรษณีย์ (Legalization Service) กับ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ

ลอกมาจาก
http://www.consular.go.th/main/th/services/1303/19824-การรับรองเอกสารทางไปรษณีย์.html


มีขั้นตอนดังนี้

  1. เขียนคำร้อง (Download ใบคำร้องได้ที่ เมนูแบบฟอร์ม --> แบบฟอร์มคำร้องรับรองเอกสาร-->คำร้องของรับรองเอกสาร)
http://www.consular.go.th/main/th/form/1405/21210-คำร้องขอรับรองเอกสาร.html
  1. หนังสือมอบอำนาจ (กรณียื่นแทนเจ้าของเอกสาร) Download ได้
  2. สำเนาบัตรประชาชน/PASSPORT ของเจ้าของเอกสาร

  3. สำเนาบัตรประชาชน/PASSPORT ของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบ
  4. เอกสารที่จะรับรองฉบับจริง พร้อมสำเนา

  5. เอกสารที่แปลแล้ว พร้อมรับรองคำแปลและเซ็นชื่อผู้แปล เช่น รับรองคำแปลถูกต้อง (กรณีแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย) หรือ Certified Correct Translation (กรณีแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ)

  6. ซื้อธนาณัติจำนวนเงินค่ารับรองเอกสาร แบบใหม่เริ่ม 11 ตุลาคม 2547

    (ชุดละ 400 บาท หมายถึง แปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ) หรือ

    (ชุดละ 400 บาท หมายถึง แปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย)

    บวกค่าส่ง EMS อีก 60 บาท สั่งจ่าย ปณ.หลักสี่ ในนาม นายอดุลย์ศักดิ์ ชอบช่วยชาติ

  7. ส่งเอกสารทั้งหมดมาที่ คุณอดุลย์ศักดิ์ ชอบช่วยชาติ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ เลขที่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

  8. สงสัยกรุณาสอบถาม โทร. 02-5751058-9   FAX. 02-5751054

    โทร.1111 หรือ โทร.02-9817171 ต่อ 33218

  9. กรุณาเขียนหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวกมาด้วย

  10. สำเนาหนังสือรับรองบริษัท (กรณียื่นแทนบริษัท)

  11. E-mail : consular04@mfa.go.th

การขอใบประเพณี (certificat de coutume) จากสถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส

คัดลอกมาจาก

http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/งานนิติกรณ์/การรับรองเอกสาร/

การขอใบประเพณี (certificat de coutume)

ผู้ที่ประสงค์จะขอเอกสารดังกล่าว สามารถยื่นเรื่องที่สถานเอกอัครราชทูตฯ หรือทางไปรษณีย์
* พร้อมเอกสารประกอบ ดังนี้


1) สำเนาหนังสือเดินทางไทยที่มียังมีอายุอยู่และใบรับรองโสดของฝ่ายไทย
2) อัตราค่าธรรมเนียม 15 ยูโร

การแจ้งเกิดเด็กไทยที่เกิดในประเทศฝรั่งเศสเพื่อทำสูติบัตรไทยในประเทศไทย

คัดลอกมาจาก

http://www.consular.go.th/main/th/services/1298/19805-การยื่นคำร้องขอสูติบัตรไทยกรณีเกิดในต่างประเทศ.html


สามารถทำได้เฉพาะกรณีที่บิดา มารดา ย้ายกลับมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองไทยโดยถาวรแล้ว


การยื่นคำร้องขอสูติบัตรไทยกรณีเกิดในต่างประเทศ

          กฎหมายไทยกำหนดให้ "บุคคลที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด" ดังนั้น บิดามารดาสามารถแจ้งขอสูติบัตรไทยได้ที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ไทยในต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หากบิดามารดาและบุตรได้ย้ายกลับมาพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวรแล้ว    ก็สามารถดำเนินการเรื่องแจ้งเกิดและขอสูติบัตรไทยได้ที่กองสัญชาติและ นิติกรณ์ ทั้งนี้ กองสัญชาติฯ กรมการกงสุลจะอำนวยความสะดวกโดยจัดส่งเอกสารไปให้สถานเอกอัครราชทูต/สถาน กงสุลใหญ่ไทยในประเทศที่บุตรเกิดดำเนินการออกสูติบัตรไทยให้
  • เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นขอสูติบัตร
            1. ใบเกิด หรือ หนังสือรับรองการเกิดจากทางการท้องถิ่น ที่ผ่านการรับรองจาก สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ของประเทศที่ออกเอกสารนั้นหากเป็นภาษาอื่นซึ่งมิใช่ภาษาอังกฤษ ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย และนำไปให้สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ของประเทศนั้นรับรอง ก่อนที่จะนำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์กรมการกงสุล (ใช้ชุดต้นฉบับที่รับรองแล้ว)
          หมายเหตุ  หนังสือรับรองการเกิดที่ออกโดยทางการท้องถิ่นในบางประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกาและจีน  ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศหรือโนตาลี่พับลิกของประเทศดัง กล่าวก่อน  มิฉะนั้น สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศดังกล่าว จะไม่สามารถรับรองให้ได้

           2. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา/มารดา (กรณีเป็นบุคคลสัญชาติไทย)

           3. ทะเบียนบ้านของบิดา/มารดา (กรณีเป็นบุคคลสัญชาติไทย)

           4. หนังสือเดินทางของบิดา/มารดา (กรณีเป็นคนต่างชาติ)

           5. ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า (หากจดทะเบียนฯ ตามกฎหมายของประเทศอื่นๆ ต้องนำเอกสารดังกล่าวไปให้สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ของประเทศนั้น รับรองก่อน หากเป็นภาษาอื่นซึ่งมิใช่ภาษาอังกฤษ ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทย และนำไปให้สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ของประเทศนั้นรับรอง ก่อนที่จะนำมารับรองที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล (ใช้ชุดต้นฉบับที่รับรองแล้ว)
          หมายเหตุ  ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าที่ออกโดยทางการท้องถิ่นในประเทศ สหรัฐอเมริกาและจีน ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศหรือโนตาลี่พับลิกของประเทศนั้นๆ ก่อน มิฉะนั้น สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศดังกล่าว จะไม่สามารถรับรองให้ได้

           6. หนังสือเดินทางของบุตร (หนังสือเดินทางที่ใช้เดินทางเข้าประเทศไทย อาจเป็นหนังสือเดินทางไทยหรือหนังสือเดินทางต่างชาติก็ได้)
          หมายเหตุ  เอกสารทุกอย่างต้องนำฉบับจริงมาแสดงต่อหน้าเจ้าหน้าที่ พร้อมถ่ายสำเนาอย่างละ 2 ชุด

  • ระยะเวลาดำเนินการ เนื่องจากต้องส่งเอกสารไปดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ใน ประเทศที่เด็กเกิด จึงอาจใช้ระยะเวลาดำเนินการนานกว่าการแจ้งเกิดและขอสูติบัตรในประเทศที่เด็ก เกิดโดยตรง ดังนั้น จึงควรแจ้งเกิดขอสูติบัตรไทยพร้อมกับยื่นขอหนังสือเดินทางไทยต่อสถานเอกอัคร ราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ไทยในประเทศที่เด็กเกิดในคราวเดียวกัน

การขอหนังสือรับรองความเป็นโสด (Certificat de célibat) จากสถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส

ลอกมาจาก http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/งานนิติกรณ์/หนังสือมอบอำนาจ/



การมอบอำนาจเพื่อขอหนังสือรับรองความเป็นโสด (Certificat de célibat)



บุคคล สัญชาติไทยที่พำนักอาศัยอยู่ในต่างประเทศที่ประสงค์จะขอหนังสือรับรองความ เป็นโสดเพื่อนำไปประกอบการจดทะเบียนสมรสในต่างประเทศกับคนต่างชาติ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานเขตหรือที่ว่าการ อำเภอในประเทศไทยซึ่งตนมีภูมิลำเนาได้ด้วยการทำหนังสือมอบอำนาจเฉพาะการ บุคคลผู้ประสงค์จะทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวต้องมาที่ฝ่ายกงสุลของสถานเอก อัครราชทูต ณ กรุงปารีส ด้วยตนเองเพื่อยื่นคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจ
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อประกอบการยื่นคำร้องต่อฝ่ายกงสุลได้แก่
  1. สำเนาหนังสือเดินทางไทย 2 ชุดต่อคำร้องต่อใบมอบอำนาจ 2 ฉบับ
  2. สำเนาบัตรประชาชนไทย 2 ชุดต่อใบมอบอำนาจ 2 ฉบับ
  3. สำเนาทะเบียนบ้านไทย 2 ชุดต่อใบมอบอำนาจ 2 ฉบับ
ค่าธรรมเนียมในการทำหนังสือมอบอำนาจ ฉบับละ 15 ยูโร ใช้เวลาดำเนินการ 3 วันทำการ
การ ยื่นคำร้องต่อฝ่ายกงสุลเพื่อจุดประสงค์ในการมอบอำนาจให้ผู้อื่นยืนขอหนังสือ รับรองความเป็นโสดต้องทำหนังสือมอบอำนาจ 2 ฉบับ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
1) ใบมอบอำนาจใบแรก ใช้เพื่อยื่นขอใบรับรองความเป็นโสดจากสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอซึ่งผู้ มอบอำนาจมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเมื่อได้เอกสารดังกล่าวแล้วต้องนำไป
ประทับตราที่กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
2) ใบมอบอำนาจใบที่สอง ใช้ประกอบการยื่นคำร้องต่อกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ให้ประทับตรารับรองในหนังสือรับรองความเป็นโสด

การมอบอำนาจเพื่อขอใบรับรองการเกิดจากสำนักงานเขต/ ที่ว่าการอำเภอในประเทศไทย

บุคคล ผู้มีสัญชาติไทยที่พำนักอยู่ในฝรั่งเศส และจำเป็นต้องใช้หลักฐานการจดทะเบียนเกิด (ใบเกิด) แต่หลักฐานดังกล่าวสูญหายไป สามารถยื่นคำร้องต่อฝ่ายกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่าง ประเทศ เพื่อมอบอำนาจให้ผู้แทนในประเทศไทย ไปดำเนินการยื่นคำร้องขอใบรับรองการเกิดจากสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอใน ประเทศไทยซึ่งตนเกิด
เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อประกอบการยื่นคำร้องต่อฝ่ายกงสุลได้แก่
  1. สำเนาหนังสือเดินทางไทย 2 ชุด ต่อใบมอบอำนาจ 2 ฉบับ
  2. สำเนาบัตรประชาชนไทย 2 ชุดต่อใบมอบอำนาจ 2 ฉบับ
  3. สำเนาทะเบียนบ้านไทยไทย ต่อใบมอบอำนาจ 2 ฉบับ
ค่าธรรมเนียมใบมอบอำนาจ ฉบับละ 15 ยูโร ต่อใบมอบอำนาจ 1 ฉบับ

การแจ้งเกิด (สูติบัตรไทย) ที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส

ลอกมาจาก website ของสถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส ตามนี้  http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/งานทะเบียนราษฎร-ทะเบียน/การแจ้งเกิด/


การขอสูติบัตร (ใบเกิด) ตามกฎหมายไทย
เด็ก ที่เกิดในประเทศฝรั่งเศสจากบิดา หรือ มารดาที่มีสัญชาติไทย (จากมารดาสัญชาติไทยและบิดาต่างชาติ หรือ จากบิดาสัญชาติไทยที่สมรสกับมารดาต่างชาติ) มีสิทธิยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทยต่อฝ่ายกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตฯ

หลักฐานประกอบการยื่นคำร้องขอสูติบัตร

  1. สูติบัตรฉบับสมบูรณ์ออกโดยทางการฝรั่งเศส (Copie Integrale d’Acte de Naissance)
  2. สมุด ประจำครอบครัวของทางการฝรั่งเศส (Livret de famille) และทะเบียนสมรสไทย     (ในกรณีที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย) หรือทะเบียนฐานะครอบครัว (สมรส) ในกรณีที่ได้ดำเนินการแจ้งบันทึกการสมรสของฝรั่งเศสต่อทางการไทย
  3. หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุของบิดา และ/หรือ มารดาที่มีสัญชาติไทย
  4. บัตรประจำตัวประชาชนไทยของบิดา และ/หรือ มารดาที่มีสัญชาติไทย
  5. หนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุของบิดาหรือมารดาที่เป็นชาวต่างชาติ
  6. รูปถ่ายของบุตร 1 ใบ
  7. สมุดสุขภาพของบุตร
ให้บิดาหรือมารดาผู้มีสัญชาติไทยของเด็กนำต้นฉบับเอกสารตามข้อ 1-5 พร้อมสำเนาอย่างละ 1 ชุด ยื่นคำร้องต่อฝ่ายกงสุลของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส โดยมิต้องนัดหมาย ระหว่างเวลา 14.30-17.00 น. วันจันทร์ถึงวันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)


*** หมายเหตุ กรณีที่บุตรเกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 (ค.ศ. 1992) กรุณาโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อน

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ชื่อสกุลของบุตร
1.  ปัจจุบัน กฎหมายฝรั่งเศสเกี่ยวกับชื่อสกุลของบุตร อนุญาตให้เลือกใช้ชื่อสกุลของบิดา หรือ
ชื่อสกุลของมารดา หรือชื่อสกุลของทั้งบิดาและมารดา (nom accole de chacun des parents)
โดยสามารถเลือกใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดาขึ้นก่อนก็ได้ และให้เขียนเส้นประ (–) จำนวน 2 ขีด
ขั้นกลางระหว่างชื่อสกุลทั้งสอง
2.  ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1561 ของไทย กำหนดให้บุตรมีสิทธิ
ใช้ชื่อสกุลของบิดา แต่ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลมารดา ซึ่งเป็นการ
กำหนดให้บุตรใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดาชื่อสกุลใดสกุลหนึ่งเท่านั้น
3.  เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายไทยเกี่ยวกับการใช้ชื่อสกุล และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับเอกสาร
ของ ทางการฝรั่งเศส และทางการไทย ที่ไม่สอดคล้องกัน การแจ้งเกิดต่อทางการฝรั่งเศส บิดามารดาจึงควรจะเลือกให้บุตรใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดาชื่อสกุลใดสกุล หนึ่งเท่านั้น
4.  ในกรณีที่บิดามารดาได้แจ้งเกิดบุตรต่อทางการฝรั่งเศสแล้ว และได้เลือกให้บุตรใช้ชื่อสกุล
รวม ของทั้งบิดาและมารดาแล้ว แต่ยังมิได้ติดต่อขอสูติบัตรไทยให้บุตร ขอให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำและเอกสารประกอบในการยื่นขอแก้ไขชื่อ สกุลของบุตรต่อทางการฝรั่งเศส ก่อนที่จะขอสูติบัตรไทยให้บุตรต่อไป

การเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้าน
คน ไทยที่ยังไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านที่ประเทศไทยและยังไม่มีเลขประจำตัว ประชาชน 13 หลัก เนื่องจากไม่ได้แจ้งเกิด หรือเป็นคนไทยที่ตกสำรวจในคราวจัดทำทะเบียนบ้านปี พ.ศ. 2499 หรือเป็นคนไทยที่เกิดในต่างประเทศหรืออาศัยอยู่ในต่างประเทศ สามารถแจ้งเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านและขอมีเลขประจำตัวประชาชนได้ โดยดำเนินการดังนี้

1) กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศสามารถมอบอำนาจให้บุคคลในประเทศ ไทยเป็นผู้มีหน้าที่แจ้ง (หากผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี  จะต้องให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้มอบอำนาจแทน)
2) กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลางของอำเภอหรือเทศบาลใดๆ ให้ยื่นคำร้องที่อำเภอ
หรือเทศบาลนั้น
3) กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้ที่เกิดในต่างประเทศ มีหลักฐานการเกิดที่ออกให้โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ
หรือ หลักฐานการเกิดที่ออกตามกฎหมายของต่างประเทศซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและผ่าน การรับรองคำแปลจากสถานเอกอัครราชทูตไทยแล้ว แต่ยังไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ ให้ยื่นคำร้องที่อำเภอหรือเทศบาลที่ญาติพี่น้องซึ่งเป็นผู้ที่รับมอบอำนาจมี ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
4) หลักฐานที่ใช้ในการแจ้ง ได้แก่
4.1 สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ
4.2 หนังสือมอบอำนาจ (สามารถยื่นเรื่องขอทำหนังสือมอบอำนาจได้ที่สถานเอกอัครราชทูตฯ)
4.3 หลักฐานทางทะเบียนราษฎรของผู้มอบอำนาจ (ผู้ขอเพิ่มชื่อ) เช่น สูติบัตรที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ออกให้ หรือหลักฐานการเกิด
4.4 สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ขอเพิ่มชื่อ หรือสำเนาบัตรประชาชนของบิดาหรือมารดาของผู้ขอเพิ่มชื่อ (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์)

วัคซีนในประเทศฝรั่งเศส

ชื่อของโรค

1. โรคคอตีบ
- ภาษาฝรั่งเศส Diphtérie เรียกย่อๆว่า D
- ภาษาอังกฤษ Diphtheria

2. บาดทะยัก
- ภาษาฝรั่งเศส Tétanos เรียกย่อๆว่า T
- ภาษาอังกฤษ Tetanos

3. โปลิโอ หรือ โรคไขสันหลังอักเสบ
- ภาษาฝรั่งเศส Poliomyélite เรียกย่อๆว่า P
- ภาษาอังกฤษ Poliomyelitis

4. ไอกรน
- ภาษาฝรั่งเศส coqueluche
- ภาษาอังกฤษ whooping cough หรือ Pertussis

5. โรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด A
- ภาษาฝรั่งเศส Hépatite A
- ภาษาอังกฤษ Hepatitis A

6. โรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด B
- ภาษาฝรั่งเศส Hépatite B
- ภาษาอังกฤษ Hepatitis B

7. ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย
- ภาษาฝรั่งเศส Typhoïde
- ภาษาอังกฤษ Typhoid

8. ไข้เหลือง
- ภาษาฝรั่งเศส Fièvre Jaune
- ภาษาอังกฤษ Yellow Fever

9. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
- ภาษาฝรั่งเศส Méningocoque
- ภาษาอังกฤษ Meningococcal

10. การติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในเลือด
- ภาษาฝรั่งเศส Méningococcémie
- ภาษาอังกฤษ Meningococcemi

11. โรคพิษสุนัขบ้า
- ภาษาฝรั่งเศส Rage
- ภาษาอังกฤษ Rabies

12. โรคฉี่หนู
- ภาษาฝรั่งเศส Leptospirose
- ภาษาอังกฤษ Leptospirosis

13. โรคติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบ ชนิด B
- ภาษาฝรั่งเศส Haemophilus influenzae type B
- ภาษาอังกฤษ Haemophilus influenzae type B

** เชื้อ Haemophilus influenzae type B เป็นเชื้อที่ก่อโรคหลายอย่างในเด็กเล็ก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อในข้อ เป็นต้น จึงแนะนำให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีทุกคนควรจะได้รับวัคซีนนี้ โดยเฉพาะในชุมชนแออัดหรือสถานเลี้ยงเด็กเล็ก รวมทั้งเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตัวนี้ได้ง่าย เช่น เด็กที่มีภาวะโรคธารัสซีเมีย ผู้ที่ตัดม้าม ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น **

14. วัณโรค หรือ ที.บี.
- ภาษาฝรั่งเศส Tuberculine / Tuberculose / Bacille Tuberculeux / Mycobacterium tuberculosis
- ภาษาอังกฤษ Tuberculin / Tuberculosis / Tubercle Bacillus

15. โรคปอดอักเสบ หรือ โรค IPD
- ภาษาฝรั่งเศส Pneumocoque / Pneumococcie invasive / PI
- ภาษาอังกฤษ Pneumococcal / Invasive Pneumococcal Disease / IPD

16. โรคหัด
- ภาษาฝรั่งเศส Rougeole
- ภาษาอังกฤษ Measles / Rubeola / Exanthematous fever

17. โรคหัดเยอรมัน หรือ โรคหัดสามวัน
- ภาษาฝรั่งเศส Rubéole
- ภาษาอังกฤษ Rubella / German measles

18. คางทูม
- ภาษาฝรั่งเศส les oreillons
- ภาษาอังกฤษ Mumps

19. อีสุกอีใส
- ภาษาฝรั่งเศส Varicelle
- ภาษาอังกฤษ Varicella / Chickenpox

ชื่อวัคซีน

1. BCG (Bacille de Calmette et Guérin) เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค

เมื่อ ก่อนจะมีของ Monovax ( ก่อนธันวาปี 2005 ) หลังปี 2006 มีวัคซีน BCG แบบเดียว เรียกว่า BCG SSI (Staten Serum Institute de Copenhague)
วัคซีน BCG นั้นปัจจุบันไม่ได้เป็นวัคซีนบังคับให้ฉีด แต่จะแนะนำสำหรับทารกที่มีความเสี่ยง หรือ เด็กที่จะต้องเดินทางไปมาประเทศที่มีความเสี่ยงบ่อยๆ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยง แพทย์จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีน BCG วัคซีนนี้สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่ง 15 ปี สามารถป้องกันได้ 10 - 15 ปี ประสิทธิภาพป้องกันของวัคซีน 0-85% จะแปรผันตามภูมิศาสตร์และห้องปฏิบัติการที่เพาะเลี้ยงเชื้อสายพันธุ์ที่ใช้ ผลิตวัคซีน อย่างไรก็ตามวัคซีน BCG ไม่ได้ช่วยป้องกันการเสี่ยงต่อโรควัณโรคเต็มที่

2. Infanrixhexa (Hexa = 6 ) เป็นวัคซีนรวมสำหรับเด็ก ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคคอตีบ (Diphtérie),บาดทะยัก (Tétanos),ไอกรน (coqueluche),โปลิโอ (Poliomyélite),โรคติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบชนิด B (Haemophilus influenzae type B) และ โรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด B (Hépatite B)

3. Infarixquinta (Quinta = 5) เป็นวัคซีนรวมสำหรับเด็ก ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคคอตีบ (Diphtérie),บาดทะยัก (Tétanos),ไอกรน (coqueluche),โปลิโอ (Poliomyélite),โรคติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบชนิด B (Haemophilus influenzae type B)

4. REVAXIS เป็นวัคซีนรวมสำหรับผู้ใหญ่ ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคคอตีบ (Diphtérie),บาดทะยัก (Tétanos),โปลิโอ (Poliomyélite)
ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ฉีดกระตุ้นหลังจาก 1 ปี หลังจากนั้นทุกๆ 10 ปี

5. PREVENAR / PREVENAR 13 เป็นวัคซีนสำหรับเด็ก ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคปอดอักเสบ หรือ โรค IPD ( Pneumocoque )

6. ENGERIX B / GENHEVAC B เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด B (Hépatite B)
ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน และ 1 ปี

7.HAVRIX 1440 / AVAXIM เป็นวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด A (Hépatite A)
ฉีด 1เข็ม ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน และ 1 ปี หลังจากนั้นทุกๆ 10 ปี

8. HAVRIX 720 / VAQTA เป็นวัคซีนสำหรับเด็กที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด A (Hépatite A)
ฉีด 1 เข็ม ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน และ 1 ปี หลังจากนั้นทุกๆ 10 ปี

9. TWINRIX เป็นวัคซีนรวมสำหรับผู้ใหญ่ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด A ,B(Hépatite A,B) ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน และ 1 ปี

10. MENINGITEC เป็นวัคซีนสำหรับเด็กที่ใช้ฉีดป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ชนิด C (Neisseria meningitidis du sérogroupe C) ฉีด 1 เข็ม หลังจากนั้นทุกๆ 3 ปี

***วัคซีนนี้ค่อนข้างจะอันตรายมีผลข้างเคียงสูง ในตอนนี้กำลังมีการฟ้องร้องบริษัทผู้ผลิตอยู่ (กันยา 2015) และมีการเรียกเก็บคืนอยู่***

http://www.francesoir.fr/societe-faits-divers/vaccins-meningitec-defectueux-240-familles-devant-la-justice

11. TYPHOIDE เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไทฟอยด์ วัคซีนนี้ไม่ได้เป็นวัคซีนบังคับให้ฉีด แต่จะแนะนำสำหรับทารกที่มีความเสี่ยง หรือ เด็กที่จะต้องเดินทางไปมาประเทศที่มีความเสี่ยงบ่อยๆ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยง ฉีด 1เข็ม หลังจากนั้นทุกๆ 3 ปี **แพทย์มักจะแนะนำให้ฉีดถ้าต้องการจะเดินทาง ถ้าไม่เดินทางก็ไม่ต้องฉีด***

12. PRIORIX เป็นวัคซีนรวมที่ใช้ฉีดป้องกันโรคหัด (Rougeole) ,คางทูม (Les Oreillons), หัดเยอรมัน (Rubéole)

13. RAGE เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีด 3 เข็ม ในวันที่ 0 (วันที่ฉีดครั้งแรก) , วันที่ 7 และวันที่ 30 ฉีดกระตุ้น 1 ปี และทุกๆ 5 ปี

14.Fièvre Jaune เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไข้เหลือง ฉีด 1 เข็ม หลังจากนั้นทุกๆ 10 ปี

15. Leptospirose / Spirolept เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคฉี่หนู
ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 15 วัน ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน หลังจากนั้นทุกๆ 2 ปี

หมายเหตุ ข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลา,จำนวนครั้งที่ฉีดนั้น ในที่นี้เป็นข้อมูลทั่วๆไปเท่านั้น ความจำเป็นในการฉีดวัคซีนอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับบุคคล สภาพร่างกาย ความเสี่ยง (เช่น บุคคลที่เดินทางบ่อยๆ) พันธุกรรม ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ดีที่สุดว่ามีความจำเป็นในการฉีดวัคซีนใดบ้าง สิ่งที่ต้องตระหนักคือในบางครั้งโรคเดียวกันมีหลายสายพันธุ์ วัคซีนที่เราฉีดอาจจะคนละสายพันธุ์กันก็ได้ ทั้งนี้การฉีดวัคซีนนั้นเป็นแค่การป้องกันแค่ทางหนึ่ง ไม่ใช่ว่าการฉีดวัคซีนจะป้องกันได้ 100 % โดยเฉพาะโรคในเขตร้อนมีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ค่อนข้างจะรุนแรงกว่าประเทศที่ อยู่ในเขตหนาว ดังนั้นข้อมูลที่เขียนนั้นเป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น

สำหรับ นักเดินทางสามารถปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีนสำหรับการเดินทางได้จากเมืองที่ คุณอยู่ เรียกว่า le centre de vaccinations internationales (CVI) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ หรือไม่ก็สังกัด la mairie ซึ่งวัคซีนนั้นจะมีราคาถูกกว่าร้านขายยา วัคซีนบางตัว CPAM ไม่จ่าย แต่บริษัทประกันอาจจะจ่ายให้บางส่วน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในสัญญา ถ้าไม่สะดวกก็ไปพบแพทย์เพื่อขอใบสั่งยา (l'ordonnance) แล้วนำไปซื้อที่ร้านขายยา

สำหรับวัคซีนสำหรับเด็กหลายๆชนิดนั้น ควรจะสั่งไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะบริษัทยามีปัญหาเรื่อง stock ปัญหานี้มีมาตั้งแต่ปลายปี 2014 วัคซีนสำหรับเด็กจนถึงปัจจุบันใช้ stock ของความมั่นคง ดังนั้น วัคซีนบางตัวก็อาจจะไม่มี ควรสั่งล่วงหน้าอย่างน้อย 9 เดือน แต่ถ้าจะหาวัคซีนสำหรับเด็ก ควรติดต่อ PMI หรือ centre de vaccination เพราะเขาจะส่งสต็อควัคซีนให้กับที่นี่ก่อน (ถ้ามีและยังไม่หมด stock)
เด็กที่ย้ายมาจากไทยจะต้องมีสมุดสุขภาพที่เรียกว่า Carnet de santé การที่จะได้มาควรไปติดต่อที่ PMI หรือ centre de vaccination ส่วนชื่อวัคซีน ถ้าคุณมีสมุดสุขภาพมาจากไทย ก็แปลเองก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้นักแปล ถ้าแพทย์ไม่แน่ใจก็จะสั่งตรวจภูมิคุ้มกัน สามารถขอตรวจภูมิคุ้มกันกับหมอเด็กหรือหมอประจำตัวก็ได้ถ้าคิวยาว
ปฏิทินวัคซีน ปี 2016 load ได้จากที่นี่ http://social-sante.gouv.fr/IMG/pdf...