เงื่อนไข
สามารถยื่นขอสัญชาติหลังจากแต่งงานมาแล้ว 4 ปี และต้องอยู่ร่วมกันมา 5 ปี ถ้าหากไม่
สามารถพิสูจน์ได้
- จะต้องมี titre de séjour อย่างต่อเนื่องติดต่อกัน 3 ปี หลังจากแต่งงาน
- ถ้าหากอาศัยอยู่นอกประเทศฝรั่งเศส จะต้องมีบันทึกจากทางการว่าอาศัยอยู่นอกประเทศตลอดระยะเวลาแต่งงานจริงๆเป็น เวลา 4 ปี ถ้าหากจดทะเบียนสมรสในตปท.ก็จะต้องบันทึกในสถานฑูตฝรั่งเศส คือพูดง่ายๆราชการฝรั่งเศสรับรอง
การยื่นคำขอ
ที่ แผนก naturalisation ของ la préfecture, sous-préfecture หรือ la mairie หรือ tribunal de l'instance ขึ้นอยู่กับเมืองที่คุณสังกัดว่าจะยื่นที่ไหน สำหรับผู้ที่พำนัก ณ ประเทศอื่น จะต้องยื่นผ่านสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศนั้นๆ
เอกสารประกอบการยื่น (Pièces à fournir )
รายชื่อเอกสารที่นำมาลงให้นั้นนำมาจากส่วนกลาง ส่วนรายชื่อเอกสารที่แท้จริงจะต้องไปขอที่แผนก la naturalisation จนท.จะให้รายชื่อเอกสารและแบบฟอร์มมาให้กรอก ซึ่งเอกสารหลักๆนั้นจะคล้ายๆกัน บางแห่งอาจจะขอเอกสารเพิ่มเติม ดังนั้นให้ดูเพื่อเป็นตัวอย่างเท่านั้นค่ะ
1. Formulaire de déclaration cerfa n°15277*01 en 2 exemplaires, datés et signés
แบบฟอร์ม Cerfa n°15277*01 2 ชุด เขียนวันที่และเซ็นชื่อ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากที่นี่
https://www.formulaires.modernisation.gouv.fr/gf/cerfa_15277.do
2. Justificatif d'identité du demandeur (par exemple titre de séjour, passeport ou toute autre pièce d'identité délivrée par les autorités de son pays d'origine)
เอกสารระบุตัวตนของผู้ยื่นคำขอ เช่น บัตรประจำตัวคนต่างด้าว (titre de séjour) ,พาสปอร์ต หรือบัตรประชาชน หรือ เอกสารอื่นที่ระบุตัวตนที่ทางราชการของประเทศผู้ยื่นคำขอนั้นออกให้
3. Justificatif d'identité du conjoint français : document officiel délivré par l'administration française en cours de validité ou périmé depuis moins de 2 ans, comportant ses nom, prénom, date et lieu de naissance et sa photo
เอกสารระบุตัวตนของคู่สมรสชาวฝรั่งเศส ซึ่งเอกสารนี้จะต้องออกโดยทางการฝรั่งเศส มีอายุน้อยกว่า 2 ปี ต้องมีรูปถ่าย ระบุ ชื่อ-นามสกุล วัน เดือน ปี เกิด และสถานที่เกิด เช่น หนังสือเดินทางหรือบัตรประชาชน หรือ ใบขับขี่ อายุไม่เกิน 2 ปี
4. Justificatif récent de domicile mentionnant nom, prénom et adresse complète
เอกสารรับรองระบุ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่โดยละเอียด เช่นใบรับรองจากบริษัทประกัน (l'attestation d'assurance) ,ใบรับรองจาก EDF (l'attestation titulaire de contrat )หรือ GDF,ใบรับรองจากบริษัทโทรศัพท์ etc.
5. Copie intégrale de son acte de naissance délivrée par l'officier d'état civil de son lieu de naissance (en cas d'impossibilité de fournir cette copie ou en cas de présentation d'un extrait plurilingue, d'autres documents seront demandés)
สูติบัตรตัวจริงฉบับสมบูรณ์ซึ่งออกโดยจนท.เขต/เทศบาล/อำเภอ จะต้องมีตราประทับของนายทะเบียนและส่วนราชการ นั้นๆ จากประเทศไทย สามารถทำได้ดังนี้
ก่อนอื่นต้องถาม จนท.ให้ชัดเจนว่า
A. จะต้องใช้ traducteur assermenté เฉพาะในฝรั่งเศสเท่านั้น สามารถหารายชื่อได้จาก ที่นี่ หรือสามารถแปลเอกสารจากประเทศไทย เพราะหลายแห่งไม่รับเอกสารแปลจากประเทศไทย
B. จะต้องรับรองเอกสาร (légaliser) ในฝรั่งเศสเท่านั้นหรือสามารถ légaliser ที่เมืองไทยได้ เพราะหลายแห่งไม่รับการรับรองเอกสารจากประเทศไทย ต้องถามจนท.ให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง เพราะถ้าทำเอกสารผิด ค่าใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นมากโดยไม่จำเป็น
5.1 หากท่านมีสูติบัตรตัวจริง ให้นำไปแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสกับนักแปลเอกสารทางด้านกฏหมาย (traducteur assermenté) ที่ได้รับการรับรองจากศาล cours d'appel เท่านั้น นักแปลจะมีตราประทับ traducteur assermenté หรือ traductrice assermentée หลังจากนั้นให้ส่งไปทำการรับรองเอกสาร ( la légalisation) ที่สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส เวลายื่นให้ยื่นสูติบัตรตัวจริงพร้อมฉบับแปล ถ้าหากอยากขอสูติบัตรตัวจริงคืนให้เขียนจดหมายแนบไปกับเอกสารด้วย หากลืมเขียนจดหมายตอบรับ (la lettre recommandée avec demande d'avis de réception ) ส่งไปทวงที่นี่
Ministère des affaires étrangères ,
Direction des Français à l'étranger et l'administration consulaire ,
Service central d'état civil
11 rue de la maison blanche 44941 NANTES cedex 9
เบอร์โทร 08 26 08 06 04 (0,15 € /min )
5.2 หากท่านไม่มีสูติบัตรตัวจริง
- ให้ทำการคัดสำเนาสูติบัตรที่เขต/เทศบาล/อำเภอ สูติบัตรดังกล่าวจะต้องมีตราประทับของนายทะเบียนและส่วนราชการ นั้นๆ หากท่านไม่สามารถไปทำด้วยตนเองได้ ให้ทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำแทน
- หลังจากนั้นให้นำไป ประทับตรากับ
ฝ่ายนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศ
123 ถ.แจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่
กทม.10120
เบอร์โทร 02 981 7171
หรือ ที่สำนักงานหนังสือเดินทางตามจังหวัดใหญ่ๆ เช่น สงขลา เชียงใหม่
- แปลกับ traducteur assermenté หรือ traductrice assermentée
- หลังจากนั้นให้ส่งไปทำการรับรองเอกสาร ( la légalisation) ที่สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส
ที่มา http://www.thaiembassy.fr/wp-content/uploads/d%C3%A9marches-pour-lattestation-de-naissance-1.pdf
หลังจากนั้นให้ทำการเขียนจดหมายระบุว่าสูติบัตรไทยออกให้ครั้งเดียว ไม่มีวันหมดอายุ หรือ จะแนบ Certificate de coutume ตามไปด้วยก็ได้
Image : http://www.ladyinter.com/forum_posts.asp?TID=20296
6. Copie intégrale récente (de préférence de moins de 3 mois) de son acte de mariage ou, quand le mariage a été célébré à l'étranger, une copie récente (également de préférence de moins de 3 mois) de la transcription de l'acte, délivrée par les services consulaires français ou le service central d'état civil du ministère des affaires étrangères à Nantes
ทะเบียนสมรสฉบับสมบูรณ์ อายุน้อยกว่า 3 เดือน
6.1 หากแต่งงานที่ฝรั่งเศส ให้ยื่นคำขอด้วยตนเองกับทาง Service de l'état civil ของทาง la mairie ที่คุณจดทะเบียน หรือขอผ่านทาง internet ทาง website ของ la mairie ที่คุณจดทะเบียน
6.2 หากจดทะเบียนที่ประเทศไทยหรือประเทศอื่น ให้ขอกับทาง Service central d’Etat civil ตามนี้
A. ทางไปรษณีย์
Ministère des Affaires étrangères
Service central d’Etat civil
11, rue de la Maison Blanche
44941 NANTES Cedex 09
B. Internet
https://pastel.diplomatie.gouv.fr/dali/index2.html
7. Attestation sur l'honneur des 2 époux certifiant qu'à la date de cette déclaration, la communauté de vie tant affective que matérielle, n'a pas cessé entre eux depuis le mariage. Cette attestation est établie sur un modèle remis par la préfecture ou le consulat. Les époux doivent se déplacer en personne et la signer ensemble, devant les services préfectoraux ou consulaires, le jour de la souscription de la déclaration.
เอกสารรับรองว่าอาศัยอยู่ร่วมกันจริงของคู่สมรสทั้ง 2 คน ว่าไม่เคยแยกกันอยู่หรือเลิกรากันตั้งแต่แต่งงาน ปกติเขาจะมีแบบฟอร์มนี้ให้เซ็นที่ la préfecture และจะต้องทำการลงลายมือชื่อต่อหน้าจนท.ทั้ง 2 คน
8. Tous justificatifs récents et concordants sur la communauté de vie entre les époux : notamment la copie intégrale de l'acte de naissance des enfants nés avant ou après le mariage et établissant la filiation à l'égard des 2 conjoints, un avis d'imposition fiscal conjoint, un acte d'achat d'un logement en commun, un contrat de bail conjoint et la dernière quittance de loyer au nom des 2 époux...,
เอกสารรับรองว่าคู่สมรสอยู่ร่วมกัน เช่น สูติบัตรของลูก ทั้งก่อนหรือหลังแต่งงาน ,ใบเสียภาษีที่มีชื่อร่วมกัน,เอกสารสัญญาซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อร่วมกัน,สัญญาเช่าบ้านที่มีชื่อร่วมกัน,une attestation d'un compte bancaire joint en activité เอกสารรับรองจากธนาคารที่คู่สมรสมีชื่อร่วมกันและยังคงใช้อยู่ etc.
9. Certificat de nationalité française, actes d'état civil ou tous autres documents émanant des autorités françaises (ampliation du décret de naturalisation ou déclaration enregistrée) de nature à établir que son conjoint possédait la nationalité française au jour du mariage et l'a conservée (les cartes nationales d'identité et les cartes consulaires ne sont pas acceptées)
ใบรับรองสัญชาติฝรั่งเศสของคู่สมรสฝรั่งเศส (CNF) เอกสารนี้ต้องไปขอที่ศาล Tribunal d'instance ในเขตที่คู่สมรสฝรั่งเศสอาศัยอยู่ รายละเอียด http://vosdroits.service-public.fr/particuliers/F1051.xhtml
Image : http://garnier.free.fr/famille/notrevie.html
10. Diplôme ou attestation prouvant un niveau de connaissance suffisant de la langue française (niveau B1)
Image : https://thefrenchturtle.wordpress.com/tag/delf/
Image : https://thefrenchturtle.wordpress.com/2012/12/18/delf-b1-exam-results/delf-b1_attestation/
11. Sauf cas exceptionnels, un extrait de casier judiciaire ou un document équivalent le concernant, délivré par une autorité judiciaire ou administrative compétente du ou des pays où il a résidé au cours des 10 dernières années, ou, lorsqu'il est dans l'impossibilité de produire ces documents, du pays dont il a la nationalité.
À noter : si vous prouvez que vous résidez en France depuis plus de 10 ans, vous n'avez pas à présenter de casier judiciaire étranger.
ใบรับรองประวัติอาชญากรรมหรือหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire)จากประเทศที่เคยอาศัยอยู่ภายใน 10 ปี ที่ผ่านมา แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ว่าหากไม่สามารถหาได้ทุกประเทศ อย่างน้อยก็ต้องยื่น casier judiciaire ของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่
Note : สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสตั้งแต่ 10 ปีเป็นต้นไป ยื่น casier judiciaire ของฝรั่งเศส เพียงอย่างเดียว
รายละเอียดการขอหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศไทย สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก ที่นี่
รายละเอียดการขอหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศฝรั่งเศส สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก ที่นี่
ตัวอย่างหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศไทย
Image : http://pcscenter.sb.police.go.th/pics/certificate.jpg
12. บางแห่งอาจจะมีขอเอกสาร la copie intégrale de l'acte de naissance de vos parents ซึ่งก็คือสูติบัตรหรือที่คัดสำเ
มีการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกในปีพ.ศ.2452 และมีการทำทะเบียนบ้านเป็นครั้ง
ซึ่งเราสามารถใช้สำเนาบัตรประชนของบ
จร
หลังจากนั้นก็ต้องมาเขียนจดหมาย
13. Timbre fiscal 55 € หรืออากรแสตมป์ ราคา 55 € สามารถซื้อได้ที่ TABAC หรือสนง.ของรัฐบาลต่างๆเช่น la préfecture หรือ trésor public
ตัวอย่าง Timbre fiscal
เอกสารประกอบอื่น ในกรณีต่างๆ Pièces spécifiques à chaque situation
1. Justificatif(s) de la résidence régulière et ininterrompue en France pendant au moins 3 ans depuis le mariage. Exemples : titres de séjour, récépissés de demande de titre de séjour ou de demande d'asile, autorisations provisoires de séjour, contrats de travail, attestations Pôle emploi, factures d'électricité, bulletins de salaire...),
เอกสารพิสูจน์ว่าผู้ยื่นคำขอได้อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีตั้งแต่แต่งงาน ตัวอย่างเช่น บัตรต่างด้าว (titres de séjour),บัตรต่างด้าวชั่วคราว (récépissés de demande de titre de séjour),สัญญาจ้างงาน (contrats de travail),ใบรับรองการว่างงานจาก Pôle emploi (attestations Pôle emploi), ใบเสร็จค่าไฟ (factures d'électricité),สลิปเงินเดือน (bulletins de salaire) etc.
2. Si les époux ont vécu ensemble à l'étranger, lorsque la durée du mariage est inférieure à 5 ans : certificat d'inscription de l'époux français au registre des Français établis hors de France pour la durée de vie commune à l'étranger,
กรณีคู่สมรสอาศัยอยู่ร่วมกันในต่างประเทศและระยะเวลาแต่งงานน้อยกว่า 5 ปี : ใบรับรองของคู่สมรสฝรั่งที่ลงทะเบียนไว้กับสถานฑูตระหว่างที่ใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ
3.Si des enfants mineurs sont susceptibles de devenir français : copie intégrale de leur acte de naissance et documents prouvant leur résidence avec le demandeur de manière habituelle ou alternée en cas de séparation ou de divorce
Exemples : jugement de divorce, acte statuant sur la garde de l'enfant, attestation d'organismes sociaux, certificat de scolarité, attestation de stage, contrat d'apprentissage, attestation de présence en crèche...),
กรณีที่ลูกซึ่งยังเป็นเยาวชนมีแนวโน้มที่จะได้รับสัญชาติฝรั่งเศส : สูติบัตรฉบับสมบูรณ์และเอกสารที่พิสูจน์ว่าอาศัยอยู่ร่วมกับผู้ร้องขอหรืออาศัยอยู่กับผู้อื่นในกรณีผู้ยื่นคำขอหย่าร้างหรือแยกกันอยู่
ตัวอย่างเช่น ใบหย่า,ใบปกครองว่าผู้ใดเป็นผู้ปกครอง,หนังสือจากองค์กรเพื่อสังคม,ใบรับรองจากโรงเรียน,สัญญาทดลองงาน,หนังสือรับรองจากสถานเลี้ยงเด็ก etc.
4. Si un enfant a été adopté : copie de la transcription de la décision d'adoption plénière de l'enfant par le demandeur, ou à défaut, copie de la décision accompagnée de tous documents justifiant de son caractère définitif,
กรณีเด็กเป็นบุตรบุญธรรม : เอกสารการรับบุตรบุญธรรม
5. Si le demandeur a déjà été marié : copies intégrales des actes de mariage et preuves de la dissolution (jugements de divorce, acte de décès). Ces documents peuvent ne pas être demandés au conjoint français, sauf s'ils peuvent remettre en cause la recevabilité de la déclaration (par exemple mariage actuel entaché de nullité par bigamie ou nationalité française obtenue dans des conditions présumées frauduleuses).
ถ้าผู้ยื่นคำขอเคยแต่งงานมาแล้ว : ทะเบียนสมรส และ เอกสารพิสูจน์ว่าสิ้นสุดการหย่า (คำตัดสินจากศาล,ใบมรณบัตร)
นอกจากนี้ จนท.อาจจะมีขอเอกสารเพิ่มเติม เช่น l'attestation de la CAF , l'attestation de CPAM etc.
บางแห่งจะต้องโทรไปนัดเพื่อยื่นเอกสาร หรือ บางแห่งสามารถยื่นได้เลย หลังจากนั้น จะมีจดหมายมานัดสัมภาษณ์ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับประเทศฝรั่งเศส โดยที่คู่สมรสจะต้องไปด้วยหรือไม่ต้องไป จดหมายจะระบุไว้ ในระหว่างการพิจารณาอาจจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเยี่ยมที่บ้านเพื่อตรวจสอบว่าอาศัยอยู่ด้วยกันจริงหรือไม่ หรือ อาจจะมีจดหมายแจ้งให้ไปทำการสอบสวนกับจนท.ที่สถานีตำรวจ อย่างใดอย่างหนึ่ง หลังจากนั้นก็ใช้เวลาพิจารณา 9 เดือน - 1 ปี หากครบ 1 ปีไปแล้ว ยังพิจารณายังไม่เสร็จก็จะมีจดหมายมาบอก หากในระหว่างดำเนินการมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น สถานภาพ,ที่อยู่ จะต้องส่งจดหมายลงทะเบียนตอบรับ ( la lettre recommandée avec demande d'avis de réception) ไปที่นี่
la sous-direction de l'accès à la nationalité française
bureau des déclarations de nationalité
93 bis rue de la Commune de 1871
44404 Rézé Cedex
ส่วนผลการพิจารณาว่าได้หรือไม่นั้นหากยื่นผ่าน la préfecture นั้นจะมีจดหมายมานัดวันรับพิธีรับมอบใบประกาศสัญชาติ และจะส่งสูติบัตรใหม่ภาษาฝรั่งเศสให้เราตรวจสอบ ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าหากได้ยื่นสูติบัตรตัวจริงไป ให้ทำการทวงตามที่อยู่ทางจดหมาย ในวันทำพิธีรับมอบจะต้องนำเอา titre de séjour และ จดหมายแจ้ง (la convocation) ไปคืน จนท.จะให้เอกสารมาว่าได้คืน titre de séjour แล้ว เมื่อได้รับสูติบัตรแล้ว เราสามารถนำไปทำบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางฝรั่งเศสได้เลย แต่ที่สำคัญจะต้องเก็บหมายเลขอ้างอิงสูติบัตรตรงใบปะหน้าไว้ เพื่อใช้อ้างอิงในการขอสูติบัตรฝรั่งเศสในครั้งต่อไป ซึ่งต่อไปนี้จะต้องขอที่ Service central d'état civil du ministère des affaires étrangères , Nantes
การถือ 2 สัญชาตินั้น
ตามกฎหมายฝรั่งเศสเราสามารถถือสัญชาติได้หลายสัญชาติ โดยไม่จำเป็นที่จะสละสัญชาติเดิม ในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะสัญชาติไทยและสัญชาติฝรั่งเศส เช่น สิทธิ์ของการได้ความช่วยเหลือ ในประเทศไทยนั้นหากท่านมีปัญหาต้องการลี้ภัยในสถานฑูตฝรั่งเศสในประเทศไทย ไม่สามารถที่จะทำได้เพราะคุณถือสัญชาติไทย รัฐบาลฝรั่งเศสไม่สามารถเข้าไปยุ่มย่ามได้ แต่ถ้าหากคุณอยู่ในประเทศอื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทยคุณสามารถขอความช่วยเหลือ จากสถานฑูตฝรั่งเศสประจำประเทศนั้นๆ หรือสถานฑูตไทยประจำประเทศนั้นๆได้ และที่ควรทราบการได้สัญชาติอันเนื่องมาจากการสมรส เป็นเพียงการได้มาโดยชั่วคราวเท่านั้น กล่าวคือ รัฐบาลฝรั่งเศสมีอำนาจตามมาตรา 21-4 ในการตรารัฐบัญญัติ (Décret) เพื่อคัดค้านโดยเหตุที่คู่สมรสชาวต่างชาตินั้นไม่อาจปฏิบัติตนให้กลมกลืนกับ สังคมฝรั่งเศสได้หรือมีความประพฤติที่เรียกได้ว่าไม่มีศักดิ์ศรี น่าอับอาย เช่น กรณีการสมรสแบบหลายภริยา (Polygamy) ซึ่งในบางสังคมเป็นเรื่องยอมรับได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม แต่ในฝรั่งเศสถือเป็นเรื่องที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือกรณีที่คู่สมรสต่างชาตินั้นลงโทษบุตรผู้เยาว์โดยใช้วิธีการรุนแรง (violence) โดยสรุปก็คือ การแสดงเจตนาว่าจะถือสัญชาติฝรั่งเศสที่ได้มาโดยการสมรสก็จะไม่มีผลใดๆทั้ง ถือได้ว่าไม่เคยได้รับสัญชาติฝรั่งเศส
หมายเหตุ คุณมีสิทธิ์เลือกเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อฝรั่งเศสหรือจะรักษาชื่อเดิมของคุณก็ย่อมได้เหมือนกัน
ref :- http://vosdroits.service-public.fr/particuliers/F334.xhtml
http://www.senat.fr/rap/l05-371-1/l05-371-183.html
http://vosdroits.service-public.fr/particuliers/F20406.xhtml
https://www.gotoknow.org/posts/468662
https://www.learners.in.th/posts/468658
http://www.humanrights.ago.go.th/index.php?option=com_smf&Itemid=2&topic=6240.0&consult=4&ref=7824
UPDATE 29/07/2015
ขอบคุณค่ะ ที่สละเวลาเขียนสิ่งที่เป็นประโยชน์ค่ะ
ตอบลบใครมีประสบการณ์ยื่นขอสัญชาติฝรั่งเศสในประเทศไทยบ้างคะ
ตอบลบอยากขอมากค่ะแต่สามีไม่ค่อยรู้เรื่องและอีกอย่างเวลาขอต้องไปขออีกที่หนึ่งซึ่งอยู่ไกลกว่าที่หนูอยู่มากค่ะ..สามีไม่ค่อยสนใจค่ะ อยู่มา ครบ15ปีแล้วค่ะทำแต่งานยากทราบรายละเอียดมากค่ะ
ตอบลบอยากขอสัญชาติคะแต่งงานกันมา11ปีอยุ่ด้วยกันตลอดคะที่ฝรั่งเศส6เดือนที่ไทย6เดือน สนใจจะถือสองสัญชาติคะ
ตอบลบ