วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การขอหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมหรือหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศไทย

การขอหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรมหรือหนังสือรับรองความประพฤติ (casier judiciaire) จากประเทศไทย 

ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย

ผู้ร้องขอสามารถยื่นคำขอด้วยตนเองได้ ดังรายละเอียดตามนี้

    รายชื่อเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง

    1. หนังสือเดินทาง ที่ยังไม่หมดอายุ ( อย่างน้อยควรจะก่อนหมดอายุ 6 เดือน )
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
    3. ทะเบียนบ้าน
    4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล ( กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล )
    5. ใบสำคัญการสมรส หย่า กรณีหญิงมีการสมรส/หย่า
    6. หลักฐานทางการทหารของชาย สัญชาติไทย อายุตั้งแต่17-45 ปี(สด.8, 9, 43 ใบ รด. หรือหนังสือ
        ผ่อนผันทหาร ฯลฯ )
    7. หนังสือส่งตัวขอตรวจสอบประวัติจากสถานทูต หรือเอกสารที่แสดงว่าได้ยื่นคาร้องขอวีซ่าจาก
        สถานทูตแล้ว เช่น Request for Record check ,checklist for case Number ,ใบสมัครที่เจ้าหน้าที่
        สถานทูตได้รับเรื่องไว้แล้ว หรือเอกสารใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า ฯลฯ) สำหรับกรณี  
        เพื่อขอวีซ่าไปต่างประเทศ
    8. หนังสือแสดงความยินยอมจากผู้ปกครอง กรณีเป็นผู้เยาว์ (อายุต่ากว่า 18 ปี )
    9. ต้องมีหนังสือตอบรับจากสถาบันศึกษาต่างประเทศ และคุณวุฒิการศึกษาปัจจุบัน หรือกรณีที่ศึกษา
        อยู่แล้วมีความประสงค์จะต่อวีซ่าให้แนบสาเนาหน้าวีซ่านักเรียนปัจจุบัน (Visa Student ) พร้อม
        หนังสือรับรองการขอตรวจสอบประวัติจากสถานศึกษา หรือ หนังสือตอบรับจากสถานศึกษาที่ผู้ร้อง
        ประสงค์จะเข้าศึกษา สำหรับกรณีศึกษาต่อ
   10.หนังสือรับรองพร้อมเอกสารประจำตัวคู่สมรส /วีซ่าคู่หมั้น หรือ เอกสารการขอสมรสจากสถานทูต
        ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ สำหรับกรณีสมรส
   11. หนังสือส่งตัวจากศูนย์รับบุตรบุญธรรม ฯ พร้อมสาเนาเอกสารประจาตัวของผู้ขอรับบุตรบุญธรรม   
        สำหรับกรณีรับบุตรบุญธรรม
   12. เอกสารประจำตัวคู่สมรสและสาเนาทะเบียนสมรส พร้อมเอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์ของคู่
         สมรส ( แปลเป็นไทย กรณีเป็นภาษาต่างประเทศ ) สำหรับกรณีติดตามคู่สมรส
   13. แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือรับรองความประพฤติ กรณีบุคคลที่พำนักในประเทศไทย ดาวน์โหลด
         ได้จาก http://pcscenter.sb.police.go.th/filedownload/Application%20Form.pdf
   14. ค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบประวัติ จานวน 100 บาท
   15. การทำเอกสารผ่านสถานีตำรวจภูธรตามจังหวัดต่างๆ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ไม่ได้ทำได้
         ทุกแห่ง เพราะทางสถานีตำรวจภูธรเองต้องส่งไปกรุงเทพเหมือนกัน
  
สามารถดูเอกสารเพิ่มเติมได้จาก http://pcscenter.sb.police.go.th/filedownload/file-service-1th.pdf

ที่อยู่ 

ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
ชั้น 1 อาคาร 24 สนง.ตำรวจแห่งชาติ
ถ.พระราม 1 เขตปทุมวัน กทม. 10330
เบอร์โทรศัพท์ 02 205 2168-9
เวลาทำการ 8h30 - 16h30 ไม่หยุดพักเที่ยง


ผู้ที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส สามารถยื่นคำขอได้ 2 วิธี

1. พิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานฑูตไทย ณ กรุงปารีส  แล้วส่งเอกสารพร้อมหนังสือมอบอำนาจให้กับญาติไปยื่นที่ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ 

ผู้ร้องต้องมาดำเนินการติดต่อสถานเอกอัครราชทูตฯ ด้วยตนเอง ทั้งนี้เพื่อตรวจสอบเอกสาร กรอกเอกสารที่เกี่ยวข้องและพิมพ์ลายนิ้วมือ พร้อมทำใบมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลในครอบครัวไปยื่นขอที่ ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชั้น 1 อาคาร 24 สนง.ตำรวจแห่งชาติ

เอกสารที่ต้องเตรียม
1. สำเนาหนังสือเดินทางที่มีอายุ 4 ชุด
2. สำเนาทะเบียนสมรส 4 ชุด
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 4 ชุด
4. สำเนาทะเบียนบ้าน 4 ชุด
5. รูปถ่าย หน้าตรง ขนาด 2 นิ้วครึ่ง ซึ่งได้ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน 4 ใบ
6. Carte de séjour หรือ Carte de résident 4 ชุด
7. ค่าธรรมเนียมในการรับรองสำเนาเอกสารประกอบ 15 ยูโรต่อหนึ่งฉบับ
8. ซองจดหมายเขียนชื่อ ที่อยู่ และติดแสตมป์ (กรณีให้ส่งกลับทางไปรษณีย์)
9. กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน (กรณีผู้ร้องพำนักอยู่ต่างประเทศเท่านั้น)
ให้ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจให้แก่บุคคลที่จะมาดำเนินการให้ โดยแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องทั้งของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจ จำนวน 10 บาท )

อากรแสตมป์ สามารถซื้อได้ที่
1. สำนักงานสรรพากร ท้องที่ต่างๆ
2. หรือหน่วยงานที่ใช้ต้องใช้ อากรแสตมป์อาจมีไว้บริการเพื่อความสะดวก
3. ร้านเครื่องเขียน


Image : http://neuralways.blogspot.fr/2012/10/blog-post_10.html

ที่อยู่ 
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส
8, rue Greuze 75116 Paris
เบอร์โทรศัพท์ 01 56 26 50 50
เวลาทำการ   จันทร์-ศุกร์  9h30 - 12h30 / 14h30 - 17h30
Métro ligne 6 ou 9 : Trocadéro
sortie 4 : Avenue Georges Mandel
Bus ligne 63

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่นี่  http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/งานนิติกรณ์/การรับรองอื่นๆ/

2.  ผ่านทางไปรษณีย์โดยตรงกับศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติที่กรุงเทพ

พิมพ์ลายนิ้วมือที่ สถานีตำรวจ แผนก service judicaire หรือ la mairie แผนกบัตรประจำตัวประชาชน/พาสปอร์ต หรือ la préfecture แผนกบัตรประจำตัวประชาชน/พาสปอร์ต ซึ่งทุกที่ไม่ใช่ว่าจะให้เราพิมพ์ลายนิ้วมืออย่างง่ายๆ ต้องใช้การเจรจาและใช้เอกสารจากใน website ไทย และ รายชื่อเอกสารจาก la préfecture แผนก naturalisation ว่าคุณจำเป็นต้องใช้รอยพิมพ์นิ้วมือเพื่อขอ casier judicaire การตรวจสอบแผ่นรอยพิมพ์นิ้วมือ ต้องมีตราประทับและลายเซ็นจนท. ไม่เช่นนั้นจะใช้ไม่ได้


แบบพิมพ์ลายนิ้วมือ
http://pcscenter.sb.police.go.th/ShowFileDownload.php?downloadkey=11

 รายชื่อเอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
1. สำเนาหนังสือเดินทาง ที่ยังไม่หมดอายุ ( อย่างน้อยควรจะก่อนหมดอายุ 6 เดือน )
2. สำเนาบัตรประชาชน (กรณีบัตรประชาชนหมดอายุ ให้นาเอกสารบันทึกสอบปากคา ณ กงสุลไทย มาประกอบ )
3. สำเนาทะเบียนบ้าน
4. สาเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล ( กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล )
5. ใบสำคัญการสมรส / หย่า / ( กรณีหญิงมีการสมรส/หย่า )
6. สาเนาหลักฐานทางทหารของชาย สัญชาติไทย( สด.8 , 9 , 43 ใบ รด.หรือหนังสือผ่อนผันทหาร ฯลฯ )
7. รับรองความถูกต้องของสาเนาทุกฉบับ
8. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จานวน 2 รูป
9. แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือจานวน 2 แผ่น (สามารถติดต่อขอพิมพ์ลายนิ้วมือได้ที่สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศนั้นๆ หรือ สถานีตารวจในประเทศที่พานักอยู่ )
10.ให้ผู้ร้องกรุณาแนบซองจดหมายพร้อมที่อยู่ของผู้ร้องและจัดเตรียมค่าไปรษณีย์เพื่อจัดส่งกลับโดย
ใช้เป็น International postage voucher จานวน 7 ใบ ทั้งนี้ศูนย์บริการฯ จะไม่รับผิดชอบกรณีการสูญหายของเอกสารที่ไม่มีผู้มารับ หรือหากมีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ใหม่ ให้ท่านรีบดาเนินการแจ้งสถานที่อยู่แห่งใหม่ พร้อมจัดเตรียมซองจดหมายและค่าไปรษณีย์สาหรับจัดส่งกลับ มิฉะนั้นท่านจะต้องยื่นคาร้องเพื่อขอเอกสารใหม่

 International postage voucher หรือ International Reply Coupons ((IRC) ซึ่ง ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า coupon-réponse international หรือ CRI ซื้อได้ใน website ของ La poste (CRI เป็นบัตรที่สามารถใช้แลกเป็นแสตมป์ค่าจดหมายไปต่างประเทศ ผู้รับปลายทางก็สามารถนำCRIไปแลกเป็นแสตมป์ได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์) สั่งซื้อได้ที่ https://boutique.laposte.fr/envois-courant/enveloppes-pre-affranchies/coupon-reponse-international-doha/p/1113550?template=part&chatTpl=laposte-boutique-part&cartVisibleItemCount=1&isUserConnected=false&chatSid=823&isCollectionneur=false


                                                     ตัวอย่าง CRI

                     
 


11. จัดส่งค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบประวัติ จานวน 100 บาท

ชื่อธนาคาร/สาขา: ธนาคาร UOB สาขาสยามสแควร>
Bank Code: 024
Branch Code: 772
Swift Code: UOVBTHBK
ที่อยู : 410-410/1 สยามสแควร์ ซอย 6 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
ชื่อบัญชี: Police Clearance Center
เลขที่บัญชี: 772-163-299-0
ประเภทบัญชี: ออมทรัพย

สามารถชำระเงินผ่านทางธนาคาร UOB โดยกรอกรหัส swift code UOVBTHBK ตรง รหัส BIC ไม่ใช่ รหัส IBAN  รายละเอียดเพิ่มเติม http://pcscenter.sb.police.go.th/filedownload/infomation-telegraphic.pdf 

12. กรอกเอกสารในแบบคำร้อง http://www.pcscenter.sb.police.go.th/filedownload/form_app.pdf

จัดส่งเอกสารทั้งหมดมาที่

ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ
ชั้น 1 อาคาร 24 สานักงานตารวจแห่งชาติ
ถนน พระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ประเทศไทย

The Police Clearance Service Center. Building 24, Royal Thai Police, Rama I, Pathumwan, Bangkok 10330 Thailand

หมายเหตุ
1. หากท่านอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศสติดต่อกันมาเป็นเวลา 10 ปี ในการขอสัญชาติฝรั่งเศสไม่จำเป็นจะต้องขอใบรับรองประวัติอาชญากรรม (casier judiciaire) หรือ หนังสือรับรองความประพฤติจากประเทศไทย
2.สถานที่พิมพ์ลายนิ้วมือ นอกเหนือจากสถานฑูตหรือสถานกงสุลไทยในฝรั่งเศสแล้ว ยังสามารถทำได้ที่สถานีตำรวจ แผนก service judicaire หรือ la mairie แผนกบัตรประจำตัวประชาชนหรือพาสปอร์ต หรือ la préfecture แผนกบัตรประจำตัวประชาชนหรือพาสปอร์ต ซึ่งทุกที่ไม่ใช่ว่าจะให้เราพิมพ์ลายนิ้วมืออย่างง่ายๆ ต้องใช้การเจรจาและใช้เอกสารจากใน website ไทย และ รายชื่อเอกสารจาก la préfecture แผนก naturalisation ว่าคุณจำเป็นต้องใช้รอยพิมพ์นิ้วมือเพื่อขอ casier judicaire การตรวจสอบแผ่นรอยพิมพ์นิ้วมือ ต้องมีตราประทับและลายเซ็น ไม่เช่นนั้นจะใช้ไม่ได้
3. ข้อควรระวัง หนังสือรับรองความประพฤติ จะต้องตรวจชื่อ นามสกุลให้ถูกต้องตามตัวอักษรและทุกเอกสาร และที่สำคัญอย่าลืมเขียนจดหมายระบุไปว่า อย่าใช้หัวข้อที่ว่า " For The french embassy only" ให้จนท.เว้นว่างเอาไว้ หรือขอให้ระบุคำว่า "for the french republic authorities only"  ยกเว้นจะยื่นผ่านสถานฑูตฝรั่งเศสในตปท. สามารถใช้คำว่า " For The french embassy only"
4. หนังสือรับรองความประพฤติ ไม่ต้องทำการรับรองหรือ la légalisation
5. ขอเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แนะนำภาษาอังกฤษเพราะค่าแปลถูกกว่าแปลจากภาษาไทยเกินครึ่ง

                                                  ตัวอย่างหนังสือรับรองความประพฤติ 



Image : http://www.pcscenter.sb.police.go.th/pics/certificate.jpg
 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น