1. โรคคอตีบ
- ภาษาฝรั่งเศส Diphtérie เรียกย่อๆว่า D
- ภาษาอังกฤษ Diphtheria
2. บาดทะยัก
- ภาษาฝรั่งเศส Tétanos เรียกย่อๆว่า T
- ภาษาอังกฤษ Tetanos
3. โปลิโอ หรือ โรคไขสันหลังอักเสบ
- ภาษาฝรั่งเศส Poliomyélite เรียกย่อๆว่า P
- ภาษาอังกฤษ Poliomyelitis
4. ไอกรน
- ภาษาฝรั่งเศส coqueluche
- ภาษาอังกฤษ whooping cough หรือ Pertussis
5. โรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด A
- ภาษาฝรั่งเศส Hépatite A
- ภาษาอังกฤษ Hepatitis A
6. โรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด B
- ภาษาฝรั่งเศส Hépatite B
- ภาษาอังกฤษ Hepatitis B
7. ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย
- ภาษาฝรั่งเศส Typhoïde
- ภาษาอังกฤษ Typhoid
8. ไข้เหลือง
- ภาษาฝรั่งเศส Fièvre Jaune
- ภาษาอังกฤษ Yellow Fever
9. โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
- ภาษาฝรั่งเศส Méningocoque
- ภาษาอังกฤษ Meningococcal
10. การติดเชื้อไข้กาฬหลังแอ่นในเลือด
- ภาษาฝรั่งเศส Méningococcémie
- ภาษาอังกฤษ Meningococcemi
11. โรคพิษสุนัขบ้า
- ภาษาฝรั่งเศส Rage
- ภาษาอังกฤษ Rabies
12. โรคฉี่หนู
- ภาษาฝรั่งเศส Leptospirose
- ภาษาอังกฤษ Leptospirosis
13. โรคติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบ ชนิด B
- ภาษาฝรั่งเศส Haemophilus influenzae type B
- ภาษาอังกฤษ Haemophilus influenzae type B
** เชื้อ Haemophilus influenzae type B เป็นเชื้อที่ก่อโรคหลายอย่างในเด็กเล็ก เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อในข้อ เป็นต้น จึงแนะนำให้เด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปีทุกคนควรจะได้รับวัคซีนนี้ โดยเฉพาะในชุมชนแออัดหรือสถานเลี้ยงเด็กเล็ก รวมทั้งเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตัวนี้ได้ง่าย เช่น เด็กที่มีภาวะโรคธารัสซีเมีย ผู้ที่ตัดม้าม ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น **
14. วัณโรค หรือ ที.บี.
- ภาษาฝรั่งเศส Tuberculine / Tuberculose / Bacille Tuberculeux / Mycobacterium tuberculosis
- ภาษาอังกฤษ Tuberculin / Tuberculosis / Tubercle Bacillus
15. โรคปอดอักเสบ หรือ โรค IPD
- ภาษาฝรั่งเศส Pneumocoque / Pneumococcie invasive / PI
- ภาษาอังกฤษ Pneumococcal / Invasive Pneumococcal Disease / IPD
16. โรคหัด
- ภาษาฝรั่งเศส Rougeole
- ภาษาอังกฤษ Measles / Rubeola / Exanthematous fever
17. โรคหัดเยอรมัน หรือ โรคหัดสามวัน
- ภาษาฝรั่งเศส Rubéole
- ภาษาอังกฤษ Rubella / German measles
18. คางทูม
- ภาษาฝรั่งเศส les oreillons
- ภาษาอังกฤษ Mumps
19. อีสุกอีใส
- ภาษาฝรั่งเศส Varicelle
- ภาษาอังกฤษ Varicella / Chickenpox
ชื่อวัคซีน
1. BCG (Bacille de Calmette et Guérin) เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค
เมื่อ ก่อนจะมีของ Monovax ( ก่อนธันวาปี 2005 ) หลังปี 2006 มีวัคซีน BCG แบบเดียว เรียกว่า BCG SSI (Staten Serum Institute de Copenhague)
วัคซีน BCG นั้นปัจจุบันไม่ได้เป็นวัคซีนบังคับให้ฉีด แต่จะแนะนำสำหรับทารกที่มีความเสี่ยง หรือ เด็กที่จะต้องเดินทางไปมาประเทศที่มีความเสี่ยงบ่อยๆ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยง แพทย์จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีน BCG วัคซีนนี้สามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่ง 15 ปี สามารถป้องกันได้ 10 - 15 ปี ประสิทธิภาพป้องกันของวัคซีน 0-85% จะแปรผันตามภูมิศาสตร์และห้องปฏิบัติการที่เพาะเลี้ยงเชื้อสายพันธุ์ที่ใช้ ผลิตวัคซีน อย่างไรก็ตามวัคซีน BCG ไม่ได้ช่วยป้องกันการเสี่ยงต่อโรควัณโรคเต็มที่
2. Infanrixhexa (Hexa = 6 ) เป็นวัคซีนรวมสำหรับเด็ก ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคคอตีบ (Diphtérie),บาดทะยัก (Tétanos),ไอกรน (coqueluche),โปลิโอ (Poliomyélite),โรคติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบชนิด B (Haemophilus influenzae type B) และ โรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด B (Hépatite B)
3. Infarixquinta (Quinta = 5) เป็นวัคซีนรวมสำหรับเด็ก ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคคอตีบ (Diphtérie),บาดทะยัก (Tétanos),ไอกรน (coqueluche),โปลิโอ (Poliomyélite),โรคติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบชนิด B (Haemophilus influenzae type B)
4. REVAXIS เป็นวัคซีนรวมสำหรับผู้ใหญ่ ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคคอตีบ (Diphtérie),บาดทะยัก (Tétanos),โปลิโอ (Poliomyélite)
ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ฉีดกระตุ้นหลังจาก 1 ปี หลังจากนั้นทุกๆ 10 ปี
5. PREVENAR / PREVENAR 13 เป็นวัคซีนสำหรับเด็ก ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคปอดอักเสบ หรือ โรค IPD ( Pneumocoque )
6. ENGERIX B / GENHEVAC B เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด B (Hépatite B)
ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน และ 1 ปี
7.HAVRIX 1440 / AVAXIM เป็นวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด A (Hépatite A)
ฉีด 1เข็ม ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน และ 1 ปี หลังจากนั้นทุกๆ 10 ปี
8. HAVRIX 720 / VAQTA เป็นวัคซีนสำหรับเด็กที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด A (Hépatite A)
ฉีด 1 เข็ม ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน และ 1 ปี หลังจากนั้นทุกๆ 10 ปี
9. TWINRIX เป็นวัคซีนรวมสำหรับผู้ใหญ่ป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ชนิด A ,B(Hépatite A,B) ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 1 เดือน ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน และ 1 ปี
10. MENINGITEC เป็นวัคซีนสำหรับเด็กที่ใช้ฉีดป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ชนิด C (Neisseria meningitidis du sérogroupe C) ฉีด 1 เข็ม หลังจากนั้นทุกๆ 3 ปี
***วัคซีนนี้ค่อนข้างจะอันตรายมีผลข้างเคียงสูง ในตอนนี้กำลังมีการฟ้องร้องบริษัทผู้ผลิตอยู่ (กันยา 2015) และมีการเรียกเก็บคืนอยู่***
http://www.francesoir.fr/societe-faits-divers/vaccins-meningitec-defectueux-240-familles-devant-la-justice
11. TYPHOIDE เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไทฟอยด์ วัคซีนนี้ไม่ได้เป็นวัคซีนบังคับให้ฉีด แต่จะแนะนำสำหรับทารกที่มีความเสี่ยง หรือ เด็กที่จะต้องเดินทางไปมาประเทศที่มีความเสี่ยงบ่อยๆ ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความเสี่ยง ฉีด 1เข็ม หลังจากนั้นทุกๆ 3 ปี **แพทย์มักจะแนะนำให้ฉีดถ้าต้องการจะเดินทาง ถ้าไม่เดินทางก็ไม่ต้องฉีด***
12. PRIORIX เป็นวัคซีนรวมที่ใช้ฉีดป้องกันโรคหัด (Rougeole) ,คางทูม (Les Oreillons), หัดเยอรมัน (Rubéole)
13. RAGE เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีด 3 เข็ม ในวันที่ 0 (วันที่ฉีดครั้งแรก) , วันที่ 7 และวันที่ 30 ฉีดกระตุ้น 1 ปี และทุกๆ 5 ปี
14.Fièvre Jaune เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคไข้เหลือง ฉีด 1 เข็ม หลังจากนั้นทุกๆ 10 ปี
15. Leptospirose / Spirolept เป็นวัคซีนที่ใช้ฉีดป้องกันโรคฉี่หนู
ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 15 วัน ฉีดกระตุ้นหลังจาก 6 เดือน หลังจากนั้นทุกๆ 2 ปี
หมายเหตุ ข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลา,จำนวนครั้งที่ฉีดนั้น ในที่นี้เป็นข้อมูลทั่วๆไปเท่านั้น ความจำเป็นในการฉีดวัคซีนอะไรบ้างนั้นขึ้นอยู่กับบุคคล สภาพร่างกาย ความเสี่ยง (เช่น บุคคลที่เดินทางบ่อยๆ) พันธุกรรม ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ดีที่สุดว่ามีความจำเป็นในการฉีดวัคซีนใดบ้าง สิ่งที่ต้องตระหนักคือในบางครั้งโรคเดียวกันมีหลายสายพันธุ์ วัคซีนที่เราฉีดอาจจะคนละสายพันธุ์กันก็ได้ ทั้งนี้การฉีดวัคซีนนั้นเป็นแค่การป้องกันแค่ทางหนึ่ง ไม่ใช่ว่าการฉีดวัคซีนจะป้องกันได้ 100 % โดยเฉพาะโรคในเขตร้อนมีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ค่อนข้างจะรุนแรงกว่าประเทศที่ อยู่ในเขตหนาว ดังนั้นข้อมูลที่เขียนนั้นเป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น
สำหรับ นักเดินทางสามารถปรึกษาเรื่องการฉีดวัคซีนสำหรับการเดินทางได้จากเมืองที่ คุณอยู่ เรียกว่า le centre de vaccinations internationales (CVI) ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่โรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ หรือไม่ก็สังกัด la mairie ซึ่งวัคซีนนั้นจะมีราคาถูกกว่าร้านขายยา วัคซีนบางตัว CPAM ไม่จ่าย แต่บริษัทประกันอาจจะจ่ายให้บางส่วน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในสัญญา ถ้าไม่สะดวกก็ไปพบแพทย์เพื่อขอใบสั่งยา (l'ordonnance) แล้วนำไปซื้อที่ร้านขายยา
สำหรับวัคซีนสำหรับเด็กหลายๆชนิดนั้น ควรจะสั่งไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะบริษัทยามีปัญหาเรื่อง stock ปัญหานี้มีมาตั้งแต่ปลายปี 2014 วัคซีนสำหรับเด็กจนถึงปัจจุบันใช้ stock ของความมั่นคง ดังนั้น วัคซีนบางตัวก็อาจจะไม่มี ควรสั่งล่วงหน้าอย่างน้อย 9 เดือน แต่ถ้าจะหาวัคซีนสำหรับเด็ก ควรติดต่อ PMI หรือ centre de vaccination เพราะเขาจะส่งสต็อควัคซีนให้กับที่นี่ก่อน (ถ้ามีและยังไม่หมด stock)
เด็กที่ย้ายมาจากไทยจะต้องมีสมุดสุขภาพที่เรียกว่า Carnet de santé การที่จะได้มาควรไปติดต่อที่ PMI หรือ centre de vaccination ส่วนชื่อวัคซีน ถ้าคุณมีสมุดสุขภาพมาจากไทย ก็แปลเองก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้นักแปล ถ้าแพทย์ไม่แน่ใจก็จะสั่งตรวจภูมิคุ้มกัน สามารถขอตรวจภูมิคุ้มกันกับหมอเด็กหรือหมอประจำตัวก็ได้ถ้าคิวยาว
ปฏิทินวัคซีน ปี 2016 load ได้จากที่นี่ http://social-sante.gouv.fr/IMG/pdf...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น