คัดลอกมาจาก website กองการสัสดี หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน กระทรวงกลาโหม
http://www.sussadee.com/index1.htm
การลงบัญชีทหารกองเกิน
การลงบัญชีทหารกองเกิน และการรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร
ชายที่มีสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย เมื่อมีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน ตามมาตรา ๑๖ ณ หน่วยสัสดีเขต/อำเภอ (ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ คือ ผู้เกิด พ.ศ.๒๕๔๑ ) โดยสามารถลงบัญชีได้ ภายใน ๓๑ ธ.ค.๕๘ ผู้ใดไม่สามารถไปแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกินด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน (ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าพ้นกำหนดถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดตามกฎหมาย
สำหรับชายไทยที่เกิด พ.ศ.๒๕๑๓ – ๒๕๔๐ หากยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินมาก่อน ก็ให้ไป แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอภูมิลำเนา ซึ่งมีความผิด จะต้องส่งดำเนินคดีก่อนรับลงบัญชีทหารกองเกิน โดยหลักฐานที่ต้องนำไปแสดง คือ บัตรประจำตัวประชาชน , สำเนาทะเบียนบ้านตนเอง บิดา มารดา และ สูติบัตร (ถ้ามี)
ชายไทยที่มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ คือ เกิด พ.ศ.๒๕๓๘ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้ว จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารใน เม.ย.๕๙ ให้ไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร ณ หน่วยสัสดีเขต/อำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร ภายใน ๓๑ ธ.ค.๕๘ ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกด้วยตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และพอจะเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกแทน ถ้าไม่รับหมาย ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดตาม มาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ โดยนำหลักฐานไปแสดง คือ บัตรประจำตัวประชาชน และใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
เรื่องการผ่อนผัน
ผ่อนผันไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก
- นัก เรียนซึ่งไปศึกษาต่างประเทศ ถ้าเป็นการศึกษาโดยทุนรัฐบาล ทางสำนัก ก.พ. จะดำเนินการขอผ่อนผันให้ แต่ถ้าเป็นการศึกษาโดยทุนส่วนตัว จะแยกการดำเนินการเป็น ๒ กรณี คือ
ให้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหารก่อนเดินทางโดยแจ้งว่าจะเดินทางเมื่อ ใด และรับรองว่าเมื่อเดินทางไปถึงแล้วจะจัดส่งหนังสือรับรองสถานทูตมาให้ภายใน ๓ เดือน
หากเดินทางไปศึกษาแล้ว
ให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร ดังนี้
๑.หนังสือรับรองสถานทูต หรือสถานกงสุล โดยต้องมีรายละเอียดว่า ไปศึกษาวิชาอะไร สถานศึกษาใด ประเทศใด หลักสูตรกี่ปี และขอผ่อนผันกี่ปี
๒.ใบสำคัญทหารกองเกิน (สด.๙),หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕), บัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านของทหารกองเกิน และของผู้ยื่นคำร้อง
- ผู้ที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงดูบุตรซึ่งมารดาตาย หรือต้องหาเลี้ยงดูพี่หรือน้องซึ่งบิดามารดา
- นิสิต/นัก ศึกษาผู้อยู่ในระหว่างศึกษาในสถาบันการศึกษาภายในประเทศ ให้ยื่นขอผ่อนผันต่อ สถานศึกษาได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป การขอผ่อนผัน สถานศึกษาจะต้องดำเนินการส่งหนังสือขอผ่อนผันถึงผู้ว่าราชการจังหวัดภายใน ก.พ.๕๗ และต้องไปแสดงตนต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกทหารฯ ทุกปี ในระหว่างที่ขอผ่อนผัน มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย นิสิต/นักศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะขอผ่อนผันได้นั้น ได้แก่
๒.นักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษาสายอาชีพ หรือสายเฉพาะทางอื่นๆ เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาหรือระดับปริญญา ผ่อนผันให้จนถึงอายุ ๒๖ ปี
๓. นักเรียนในสถานศึกษาสายสามัญระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่อนผันให้จนถึงอายุ ๒๒ ปี
เมื่อขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาแล้ว ในวันตรวจเลือกฯ จะต้องไปแสดงตนเพื่อเข้ารับการตรวจเลือกในฐานะคนผ่อนผันทุกปีในระหว่างการ ผ่อนผัน และจะต้องได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือก (สด.๔๓) จากประธานกรรมการ หากไม่ไปแสดงตนก็จะมีความผิดเหมือนกันบุคคลทั่วไป เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะต้องแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันจบการศึกษา ผู้ที่ขอผ่อนผัน หากในวันตรวจเลือกฯ ประสงค์จะขอเข้าตรวจเลือกก็ให้ยื่นคำร้องขอสละสิทธิเพื่อเข้ารับการตรวจ เลือกภายในเวลา ๑๒.๐๐ น.ของวันตรวจเลือก
การยกเว้น
การยกเว้น มี ๒ ประเภท คือ
๑. ยกเว้นไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการ (ยกเว้นให้ตลอดไป) คือ
๑.๑ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญและนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือ ญวนที่มีสมณศักดิ์
พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หมายถึง ยศของพระ เช่น เป็นพระครู พระชั้นเทพหรือชั้นธรรม เป็นต้น
ส่วนตำแหน่งของพระ เช่น เป็นเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ อย่างนี้เป็นตำแหน่ง ไม่ใช่สมณศักดิ์ จึงไม่ได้รับการยกเว้น
พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์อาจไม่มีตำแหน่งก็ได้
พระภิกษุที่เป็นเปรียญ หมายถึง การศึกษาของพระ เช่น เป็นเปรียญตั้งแต่ ๓ ประโยค ถึง ๙ ประโยค
นักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์นั้น หมายถึง ผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ต่างกันที่ถือตามนิกายของจีนกับของญวน
นักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ต้องมีสมณศักดิ์ด้วย จึงจะได้รับการยกเว้น
๑.๒ คนพิการทุพพลภาพซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้
๒. ยกเว้นไม่เรียกมาเข้ารับการตรวจเลือกในยามปกติ คือ
๒.๑ พระภิกษุสามเณรซึ่งเป็นนักธรรม
พระภิกษุสามเณรซึ่งเป็นนักธรรม หมายถึง ผู้ที่จบนักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก เมื่อยื่นเรื่องขอยกเว้นและได้รับการยกเว้นแล้ว ไม่ต้องไปแสดงตนเข้ารับการตรวจเลือกฯ ถ้ายื่นไม่ทันก่อนการตรวจเลือก จะนำหลักฐานไปยื่นขอรับการยกเว้นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันทำการตรวจเลือก ก็ได้ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นต่อนายอำเภอเพื่อขอยกเว้น ได้แก่
- ประกาศนียบัตรจบนักธรรม
- ใบสำคัญ(แบบ สด.๙)
- หมายเรียก(แบบ สด.๓๕)
- หนังสือรับรองของเจ้าอาวาส
- หนังสือสุทธิ
๒.๒ ผู้อยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหาร (ยังไม่จบ รด.ปี ๓)
การขอยกเว้นให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีผู้ซึ่งอยู่ในกำหนดต้องเรียกมาตรวจเลือกฯ ส่ง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ นรด. ภายในเดือนตุลาคมของทุกปี หลักฐานเป็นหน้าที่ของกระทรวงกลาโหมจะแจ้งไปยังจังหวัดภูมิลำเนาทหารของผู้ นั้น ให้จัดการยกเว้นให้ แล้วผู้นั้นไม่ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือก
๒.๓ ครูในสถานศึกษา
ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่าง ๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น รวมถึงครูอัตราจ้างด้วย แต่ครูไม่ได้รับการยกเว้นทุกคน ครูที่จะมีสิทธิได้รับการยกเว้นจะต้องเข้าลักษณะตามที่กำหนด ดังนี้
เป็นครูประจำทำการสอนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา ไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติและในจำนวนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนนี้ ยกเว้นครูได้คนเดียว หรือเป็นครูสอนประจำเฉพาะวิชาซึ่งทำการสอนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนเป็นปกติ และในจำนวนนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาไม่น้อยกว่า ๑๕ คนนี้ ก็ยกเว้นครูได้คนเดียวเช่นกัน
มีเวลาสอนสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า ๑๘ ชั่วโมง สำหรับครูซึ่งประจำทำการสอนในสถานศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาลงมา หรือไม่น้อยกว่า ๑๕ ชั่วโมง สำหรับครูซึ่งประจำทำการสอนในสถานศึกษาระดับสูงกว่ามัธยมศึกษา
วิธีการยกเว้นครู
ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อครูซึ่งจะได้รับการยกเว้นไปยังผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งครูผู้นั้นทำการสอนอยู่ในท้องที่ก่อนเดือนเมษายนของปีที่ถูกเรียกไม่น้อยกว่าหกสิบวัน เว้นแต่กรณีการย้ายไปประจำทำการสอนในสถานศึกษาอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในใบ สำคัญยกเว้นครู ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งรายชื่อครูที่ย้ายมาประจำทำการสอนซึ่งจะได้ รับ การยกเว้นน้อยกว่าหกสิบวันได้ แต่ต้องก่อนการตรวจเลือกในจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาทหารของครูผู้นั้น
ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ออกใบสำคัญ ยกเว้นครูให้แก่ครูซึ่งทำการสอนอยู่ในท้องที่ แล้วแจ้งให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอท้องที่ที่เป็น ภูมิลำเนาทหารของครูผู้นั้นทราบ ถ้าครูผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในท้องที่จังหวัดอื่น ต้องแจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดแห่งท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของครูผู้นั้นทราบ แล้วให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับแจ้งแจ้งให้ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ ท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของครูผู้นั้นทราบอีกต่อหนึ่ง ทั้งนี้ให้แจ้งต่อกันภายในกำหนด ๓๐ วัน
๒.๔ ผู้ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ
เป็นบุคคลที่ได้แปลงสัญชาติเป็นคนไทยตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่จะทราบว่าเป็นบุคคลประเภทนี้ตั้งแต่ไปแสดงตนขอลงบัญชีทหารกอง เกินแล้ว จะจัดการยกเว้นให้ทันทีโดยตัวไม่ต้อง ขอยกเว้นอีก
๒.๕ บุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกครั้งเดียวตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปหรือเคยได้รับโทษจำคุกโดยคำ พิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหลายครั้งรวมกันตั้งแต่ ๑๐ ปีขึ้นไปหรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน
การตรวจโรคทหารกองเกินก่อนการตรวจเลือกทหารฯ
ขอให้ทหารกองเกินที่จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหารฯ ใน เม.ย.๕๘ ที่สงสัยว่าตนเองมีโรคที่น่าจะขัดต่อการรับราชการทหารกองประจำการ ไปเข้ารับการตรวจโรคก่อนการตรวจเลือก ณ โรงพยาบาลทหารตามที่กองทัพบกกำหนด ไว้ จำนวน ๒๐ แห่ง ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๗ เป็นต้นไปจนถึง ๒๐ ก.พ. ๕๘ ซึ่งโรงพยาบาลจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคไว้เป็น การเฉพาะ และทำให้ทหารกองเกินทราบได้ได้ล่วงหน้าก่อนวันทำการตรวจเลือกว่าเป็นโรคที่ ขัดต่อการรับราชการทหารหรือไม่
โรคที่ควรไปเข้ารับการตรวจ ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของ ตา , หู , โรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือด , โรคของระบบหายใจ , โรคของระบบปัสสาวะ , โรคหรือความผิดปกติของกระดูก , ข้อ และกล้ามเนื้อ , โรคของต่อมไร้ท่อ และภาวะผิดปกติของเมตะบอลิสัม ,โรคติดเชื้อ , โรคทางประสาทวิทยา , โรคทางจิตเวช และโรคอื่น ๆ เช่น ตับแข็ง เป็นต้น
โรงพยาบาลสังกัด กองทัพบก ๒๐ แห่ง ได้แก่
ส่วนกลาง : รพ.พระมงกุฎเกล้า (กรุงเทพฯ) , รพ.อานันทมหิดล (ลพบุรี) , รพ.ค่ายธนะรัชต์ (ประจวบคีรีขันธ์) และ รพ.โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ (นครนายก)
ทภ.๑ : รพ.ค่ายจักรพงษ์ (ปราจีนบุรี) , รพ.ค่ายสุรสีห์ (กาญจนบุรี) , รพ.ค่ายอดิศร (สระบุรี) และ รพ.ค่ายนวมินทราชินี (ชลบุรี)
ทภ.๒ : รพ.ค่ายสุรนารี (นครราชสีมา) , รพ.ค่ายสรรพสิทธิประสงค์(อุบลราชธานี) , รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม (อุดรธานี ) , รพ.ค่ายวีรวัฒน์โยธิน (สุรินทร์) และ รพ.ค่ายกฤษณ์สีวะรา (สกลนคร)
ทภ.๓ : รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พิษณุโลก) , รพ.ค่ายจิรประวัติ (นครสวรรค์) , รพ.ค่ายสุรศักดิ์มนตรี (ลำปาง) และ รพ.ค่ายกาวิละ (เชียงใหม่)
ทภ.๔ : รพ.ค่ายวชิราวุธ (นครศรีธรรมราช), รพ.ค่ายเสนาณรงค์ (สงขลา) และ รพ.ค่ายอิงคยุทธบริหาร (ปัตตานี)
เอกสาร ที่ต้องนำไปแสดง ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน ใบสำคัญ(แบบ สด.๙),หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕)และหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว – ชื่อสกุล ฉบับจริงพร้อมสำเนา
เรื่องสิทธิลดวันรับราชการทหาร
บุคคลที่สามารถใช้สิทธิลดวันรับราชการทหารได้ มีดังนี้
๑. ข้าราชการกลาโหมพลเรือนชั้นสัญญาบัตร, ข้าราชการตุลาการ, ดะโต๊ะยุติธรรม, ข้าราชการอัยการ, ข้าราชการฝ่ายตุลาการซึ่งเป็นข้าราชการธุรการชั้นตรีหรือเทียบเท่า, ข้าราชการพลเรือนชั้นตรีหรือเทียบเท่า, พนักงานเทศบาลชั้นตรีหรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จชั้นอุดมศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยาฐานะเทียบเท่า
จับสลากถูกเป็นทหาร ๑ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๖ เดือน
๒. ผู้สำเร็จชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๒ หรือเทียบเท่า, ผู้สำเร็จจาก ร.ร.อาชีวศึกษาชั้นสูงของ กระทรวงศึกษาธิการ, ผู้สำเร็จวิชาชีพ หลักสูตรไม่น้อยกว่า ๓ ปี จาก ร.ร.อาชีวะที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองและรับจากผู้สำเร็จ ม.ศ.๓ ผู้สำเร็จประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ตั้งแต่ ๒ ชั้นขึ้นไป
จับสลากถูกเป็นทหาร ๒ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๑ ปี
๓. ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหาร
ชั้นปีที่ ๑ เข้าจับสลากเป็นทหาร ๑ ปี ๖ เดือน ถ้าสมัครเป็นเพียง ๑ ปี
ชั้นปีที่ ๒ เข้าจับสลากเป็นทหาร ๑ ปี ถ้าสมัครเป็นเพียง ๖ เดือน
ชั้นปีที่ ๓ ขึ้นทะเบียนและนำปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ (ไม่ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือก)
๔. ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารจากต่างประเทศ ต้องให้กระทรวงกลาโหมรับรองเทียบกับผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารของ รด. ก่อน แล้วจึงขอรับสิทธิตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
คำเตือน
การขอสิทธิลดวันรับราชการทหาร ต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิพิเศษโดยยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก โดยทำคำร้องไว้พร้อมทั้งขอใบรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ด้วย
ผู้เข้ารับการตรวจเลือก จะได้ใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓) จากประธานกรรมการในวันตรวจเลือกทุกคน
ขอ ให้ทหารกองเกินที่จะต้องเข้าตรวจเลือก ฯ ใน เม.ย. ๕๗ ไปรับหมายเรียกได้ ณ หน่วยสัสดีเขต/อำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหารตามใบสำคัญ (แบบ สด ๙)
ขั้นตอนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ
ขั้นตอนการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ากองประจำการ (การเกณฑ์ทหาร)
ใน วันตรวจเลือกทหารกองเกิน (วันเกณฑ์ทหาร) เวลา ๐๗.๐๐ น. ทหารกองเกินที่ได้รับหมายเรียก (แบบ สด.๓๕) แล้วทุกคนเข้าแถวตามตำบล เคารพธงชาติ ประธานกรรมการตรวจเลือกทหาร ชี้แจงความจำเป็นถึงการตรวจเลือกทหาร เมื่อประธานกรรมการชี้แจงเสร็จ กรรมการสัสดีจะชี้แจงถึงขั้นตอนการปฏิบัติในการตรวจเลือกทหาร รวมทั้งสิทธิต่าง ๆ ของผู้ถูกเข้ารับราชการทหารกองประจำการ คือ ผู้ที่สมัครหรือผู้ที่จับสลากแดงได้ ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้
โต๊ะที่ ๑ เรียกชื่อ กรรมการจะเรียกชื่อทหารกองเกินเข้ารับการตรวจเลือก
โต๊ะที่ ๒ ตรวจร่างกาย กรรมการแพทย์จะตรวจร่างกายว่าสมบูรณ์ดีหรือไม่
กรรมการสัสดีกำหนดคนเป็น ๔ จำพวก คือ
จำพวกที่ ๑ คนร่างกายสมบูรณ์ดี
จำพวกที่ ๒ คนที่ร่างกายไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ ๑ แต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ
จำพวกที่ ๓ คนที่ได้รับอุบัติเหตุหรือมีโรครักษาให้หายไม่ได้ภายใน ๓๐ วัน
จำพวกที่ ๔ คนที่ร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคที่กฎหมายกำหนดให้ไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร
โต๊ะที่ ๓ วัดขนาด กรรมการจะวัดขนาดสูงและขนาดรอบตัวของร่างกาย
ประธานการตรวจเลือกทหาร จะตรวจสอบขั้นสุดท้าย ถ้าร่างกายสมบูรณ์ดีและขนาดสูง ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขนาดรอบตัว ๗๖ เซนติเมตร ในเวลาหายใจออกเรียกว่าคนได้ขนาด และจะให้รอจับสลาก เมื่อมีคนได้ขนาดพอกับยอดจำนวนที่ต้องการคนเข้ากองประจำการ ทหารกองเกินที่มีขนาดสูงต่ำกว่า ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขนาดรอบตัวต่ำกว่า ๗๖ เซนติเมตร ในเวลาหายใจออก และคนจำพวกที่ ๒,๓,๔ ซึ่งร่างกายไม่สมบูรณ์ดีหรือร่างกายพิการทุพพลภาพหรือมีโรคที่ขัดต่อการเป็น ทหารกองประจำการ ประธานกรรมการจะปล่อยตัวพร้อมกับมอบใบรับรองผลการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๓) ให้ทหารกองเกินรับไป
ทหารกองเกินหรือบุคคลที่จับสลากแดงหรือสมัครเข้า เป็นทหารกองประจำการ ประธานกรรมการตรวจเลือกจะส่งตัวให้นายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต ออกหมายนัดให้ไปเข้ารับราชการทหารตามผลัดที่จับสลากได้ หรือผลัดที่สมัครไว้
นอกจากนี้คุณสามารถ download แผ่นพับคำอธิบายต่างๆได้จากที่นี่
http://www.sussadee.com/PR/A401.pdf
คำแนะนำเรื่องเอกสารต่างๆ โปรดอ่านจากที่นี่
http://www.engrdept.com/Burachat/sadsadee_army.htm
ข้อแนะนำการติดต่อราชการที่ทำการสัสดีเขต/อำเภอ
การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร)
บุคคลที่มีสัญชาติไทยเมื่ออายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ต้องไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) ตามภูมิลำเนาของบิดา ถ้าบิดาถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกินตามภูมิลำเนาของมารดา ถ้าบิดา มารดาถึงแก่กรรมให้ลงบัญชีทหารกองเกิน ตามภูมิลำเนาของผู้ปกครองและเมื่อลงบัญชีทหารกองเกินเสร็จแล้วจะได้รับใบ สำคัญ (แบบ สด.๙) โดยนำหลักฐานไปลงบัญชีทหารดังนี้
- ๑. บัตรประจำตัวประชาชน
- ๒. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
- ๓. สูติบัตร (ถ้ามี)
บุคคลที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหารฯ)ไว้แล้ว เมื่ออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ต้องไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) ภายในปี พ.ศ.นั้น ๆ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปรับหมายเรียกแทน จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และนำหลักฐานไปยืนต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำเภอ ดังนี้
- ๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
- ๒. บัตรประจำตัวประชาชน
บุคคลซึ่งเป็นทหารกองเกินหรือทหารกองหนุน เมื่อได้เปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล ต้องไปยื่นคำร้องขอเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ในบัญชีทหารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยนำหลักฐานไปยื่นต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้ เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ดังนี้
- ๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘)
- ๒. หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัว, ชื่อสกุล
- ๔. สำเนาทะเบียนบ้าน
เมื่อใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ชำรุดหรือสูญหายให้ผู้ถือใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) แจ้งต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ท้องที่ภูมิลำเนาทหาร โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้
- ๑. บัตรประจำตัวประชาชน
- ๒. ใบรับแจ้งเอกสารหาย
- ๓. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่น ขนาด ๓x๔ ซม. จำนวน ๓ รูป กรณีขอหนังสือ สำคัญ (แบบ สด.๘)
บุคคลใดย้ายไปอยู่ที่ใหม่มีถิ่นที่อยู่เป็นหลักฐาน และมีความประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร ให้ยื่นคำร้องแจ้งต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำ กิ่งอำเภอท้องที่ที่ย้ายเข้าไปอยู่ใหม่ โดยนำหลักฐานไปด้วยดังนี้
- ๑. ใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘)
- ๒. บัตรประจำตัวประชาชน
- ๓. สำเนาทะเบียนบ้าน
๑. การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารเพื่อเลี้ยงดูบิดา มารดา
-
บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร เพื่อเลี้ยงดูบิดา มารดา
ซึ่งไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
ให้ดำเนินการขอผ่อนผันดังนี้
- ๑.๑ ถ้ามีบุตรต้องเกณฑ์ทหารพร้อมกันหลายคน ให้บิดา มารดาเลือกเพียงคนเดียว
- ๑.๒
บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการ
เขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
ก่อนวันเกณฑ์ทหารไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน
- ๑.๓ บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารต้องร้องขอผ่อนผันต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกอีกครั้งหนึ่ง
- ๑.๔ หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงการขอผ่อนผัน
- ๑.๔.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.9)
- ๑.๔.๒ หมายเรียก (แบบ สด.35)
- ๑.๔.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/บิดาหรือมารดา
- ๑.๔.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
- ๑.๔.๕ หลักฐานที่แสดงว่า บิดาหรือมารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
- ๑.๔.๖ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง
บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อเลี้ยงดูบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ ซึ่งบุตรยังหาเลี้ยงชีพไม่ได้ หรือไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผันดังนี้
- ๒.๑
ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า
ประจำกิ่ง อำเภอ ก่อนถึงวันเกณฑ์ทหาร/ตรวจเลือกทหารไม่น้อยกว่า ๓๐
วัน
- ๒.๒ ร้องขอต่อคณะกรรมการตรวจเลือกทหาร ในวันตรวจเลือกทหาร/วันเกณฑ์ทหารอีกครั้งหน้า
- ๒.๓ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันมีดังนี้
- ๒.๓.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
- ๒.๓.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
- ๒.๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/ภรรยา
- ๒.๓.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
- ๒.๓.๕ ใบสำคัญการสมรส/ทะเบียนสมรส
- ๒.๓.๖ ใบมรณบัตรของภรรยา (ถ้ามี)
- ๒.๓.๗ หลักฐานที่แสดงว่าภรรยาไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
- ๒.๓.๘ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
บุคคลที่ต้องการขอผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเพื่อเลี้ยงดูพี่หรือน้องร่วมบิดา มารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา ซึ่งบิดา มารดาตาย ทั้งนี้พี่หรือน้องหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู ให้ดำเนินการขอผ่อนผัน ดังนี้
- ๓.๑
ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า
ประจำกิ่งอำเภอก่อนถึงวันตรวจเลือก/วันเกณฑ์ทหารไม่น้อยกว่า ๓๐
วัน
- ๓.๒ ร้องขอต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก (วันเกณฑ์ทหาร) อีกครั้งหนึ่ง
- ๓.๓ หลักฐานที่ต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันมีดังนี้
- ๓.๓.๑ ใบสำคัญ (แบบ สด.๙)
- ๓.๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชนของตนเอง/พี่/น้อง
- ๓.๓.๔ ใบสูติบัตร/ใบเกิด ของพี่หรือน้อง
- ๓.๓.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน
- ๓.๓.๖ ใบมรณบัตรของบิดาหรือมารดา
- ๓.๓.๗ หลักฐานที่แสดงว่า บิดา มารดาเป็นคนไร้ความสามารถหรือพิการทุพพลภาพ
- ๓.๓.๘ หลักฐานอื่นที่มีและเกี่ยวข้อง
การผ่อนผันเนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษาภายในประเทศ เป็นการผ่อนผันให้เนื่องจากมีจำนวนคนมากกว่าจำนวนคนที่หน่วยทหารต้องการ ซึ่งได้แก่
- ๔.๑
นักเรียนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือมัธยมศึกษาชั้นปีที่ ๖ ( ม.๖ )
หรือเทียบเท่า จะได้รับ
การผ่อนผันจนสำเร็จระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖) หรือเทียบเท่า
แต่อายุไม่เกิน ๒๒ ปีบริบูรณ์
- ๔.๒
นิสิตหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐ
สถาบันการศึกษาของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
จะผ่อนผันให้ศึกษาที่ไม่สูงกว่าระดับปริญญาโท และจนถึงอายุครบ ๒๖
ปีบริบูรณ์แต่สำหรับการศึกษาภาคนอกเวลาหรือภาคสมทบ
หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชต้องมีผล
การศึกษาสอบไล่ได้ภาคละไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต ทุกภาคติดต่อกัน
ให้ผู้ที่ต้องการขอผ่อนผันดำเนินการดังนี้
- ๑. ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อสถานศึกษาที่ศึกษาอยู่
- ๒. ไปเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อใช้สิทธิ์การผ่อนผันการตรวจเลือกทหารในวันตรวจเลือก
- ๓. หลักฐานที่ใช้ประกอบในการขอผ่อนผัน คือ
- ๓.๑ ใบสำคัญ ( แบบ สด.๙ )
- ๓.๒ หมายเรียก ( แบบ สด.๓๕ )
- ๓.๓ บัตรประจำตัวประชาชน
การผ่อนผันการเกณฑ์ทหารเนื่องจากไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศจะได้รับการผ่อนผันการตรวจเลือกทหารตามจำนวนปีที่ใช้การศึกษาตาม หลักสูตรจนกว่าจะจบการศึกษา แล้วยกเว้นให้ไม่ต้องมาแสดงตนในวันตรวจเลือกเกณฑ์ทหารโดยมีขั้นตอนการขอ ผ่อนผันดังนี้
- ๕.๑
ให้นักเรียนผู้ขอผ่อนผันหรือมอบอำนาจให้บิดา มารดา หรือ ผู้ปกครอง
ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอ/ผู้อำนวยการเขต/ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้า
ประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภูมิลำเนาทหาร
- ๕.๒ หลักฐานที่จะต้องนำไปยื่นคำร้องขอผ่อนผันทหาร
- ๕.๒.๒ หมายเรียก (แบบ สด.๓๕)
- ๕.๒.๓ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอผ่อนผันของผู้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันแทน
- ๕.๒.๔ สำเนาทะเบียนบ้าน
- ๕.๒.๕ หนังสือรับรองของสถานศึกษาพร้อมสำเนาคำแปลเป็นภาษาไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น